ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ

Main Article Content

Korktanatouch Panyasai
Chuthamat Kitisri

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มทดลอง โดยได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพที่สร้างขึ้นและผู้สูงอายุ หมู่ที่ 5 จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมตามปกติ เครื่องมือการวิจัย คือ โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัย(WHO) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย  ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (dependent,independent samples t-test) ผลการศึกษา พบว่า ภายหลัง การได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ  ที่ระดับ 0.01 และภายหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2558. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2557. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
2. งานส่างเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2558. แนวโน้มทางประชากร. นนทบุรี: http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/about/soongwai/topic004.php.
3. ศากุล ช่างไม้. 2550. สังคมไทยกับสถานการณ์ผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
4. นริสรา พึ่งโพธิ์สภ, ฐานศุกร์ จันประเสริฐ. 2555. การสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย.สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
5. ระพินทร์ โพธิ์ศรี. 2549. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 70-72.
6. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. 2554. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). เชียงใหม่: โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่.
7. จรัญญา วงษ์พรหม, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, นวลฉวี ประเสริฐสุข, นิรันดร์ จงวุฒิเวศย. 2558. “การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอาย”. Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8(3 ) : 41-54.
8. ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, วรรณา คงสุริยะนาวิน, วิลาสินี เติมเศรษฐเจริญ. 2555. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ. Journal of Nursing Science. 30(2) : 35-45.
9. ปิ่นนเรศ กาศอุดม, มัณฑนา เหมชะญาต. 2011. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. Journal of Phrapokklao Nursing College. 22(2) : 61-70.
10. Word Health Organnization. (November 17 - 26 1986). Ottawa Charter for Health Promotion.An Internation Conference on Health Promotion. Ontario Canada: Ottawa.
11. Pender N.J. 1996. Health Promotion in Nursing Practice. London: Appleton and Lange.
12. ยุวดี รอดจากภัย. 2554. แนวคิดและทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพ. ชลบุรี: บริษัทโฮ่โกะ เพรส จำกัด.