ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

Main Article Content

Pimpaya Somdee
Yunee Pongjaturawit
Nujjaree Chaimongkol

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกภูมิแพ้ แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 72 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 43.89 (SD = 7.37, range 14-56) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .488, p < .001) สำหรับการรับรู้สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (p > .05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสำคัญต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนแก่เด็กวัยเรียน เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ในโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)
Author Biography

Pimpaya Somdee

Assistant Professor of Industrial Hygiene and Safety, Department of Industrial Hygiene and Safety, Faculty of Public Health, Burapha University

References

1. Turner PJ, Kemp AS. Allergic rhinitis in children. Journal of Paediatrics and
Child Health 2009; 48: 302-310.
2. สมาคมแพทย์โรคจมูก ราชวิทยาลัย โสต นาสิก แพทย์แห่งประเทศไทย. แนว
ทางการตรวจพัฒนารักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย. 2554 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://rcot.org/datafile/_file/_doctor. (วันที่ค้นข้อมูล 26 มกราคม พ.ศ.2556)
3. Pawankar R. Allergic Disease: A global health public health tissue. Asian Pacific
Journal of Allergy Immunology 2012; 30: S3-S5.
4. Pawankar R, Baena-Cagnani CE, Bousquet J, Canonica GW, Cruz AA,
Kaliner MA, et al. State of World Allergy Report 2008: Allergy and chronic respiratory diseases. World Allergy Organization of Journal 2008; 1: 1-17.
5. Bunnag C, Jareonchasri P, Tantilipikorn P, Vichayanond P,Pawankar, R.
Epidemiology and Current Status of Allergic Rhinitis and Asthma in Thailand-ARIA Asia-Pacific Workshop Report. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology 2009; 27: 79-86.
6. Meltzer EO. Quality of life in adults and children with allergic rhinitis.
Journal of Allergy Clinical Immunology 2001; 103: S45-S53.
7. เสกสันต์ ชัยนันท์สมิตย์. ตำราหวัดเรื้อรัง (Chronic rhinitis). ขอนแก่น:
สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
8. McCabe PC. Academic function and quality of life of children and adolescent
with allergic rhinitis-part 1. Communiqe 2008; 1: 8-10.
9. Sayin I, Cingi C, San T, Ulasoy S, Acar M. An important social problem:
Allergic rhinitis. Journal of Medical Update 2013; 3(2): 91-95.
10. Emin O, Mustafa S, Nedim S. Psychological stress and family functioning in
mother of children with allergic rhinitis. International Journal of Pediatric Otorhinolarygol 2009 ;73: 1795-1798.
11. Richard N, Sauriol L, Cristian S. The Effect of Seasonal Allergic Rhinitis
in Children on Caregivers' Lives: A pilot study. Pediatric Asthma, Allergy & Immunology 2009; 14(2): 119-124.
12. Hordojojo A, Shek PC, Bever PS, Lee BW. Rhinitiss in children less
than 6 years of age: current knowledge and challenges. Asia Pacific Allergy 2011; 1: 115-122.
13. พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง).
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
14. องค์การอนามัยโลก. องค์ประกอบด้านสุขภาพ ขององค์การอนามัยโลก ฉบับ
ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส; 2555.
15. วีระศักดิ์ เจริญพันธ์ และเฉลิมพล ตันสกุล. พฤติกรรมสุขภาพ. มหาสารคาม:
โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2550.
16. Green LW, Kreuter MW. Health Program Planning: An Educational
and Ecological Approach. New York: The McGraw Hill Companies; 2005.
17. Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavior change.
Psychological review 1997; 84: 191-215.
18. Kaul T. Helping African American children self-management asthma: The
importance self-efficacy. Journal of School Health 2011; 81(1): 29-33.
19. ปรียานุช นิธิรุ่งเรือง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็ก). บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
20. Cohen J. Statistic power analysis for the behavior sciences. New York: Academic
Press; 1988.
21. อุรารักษ์ ลำน้อย. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อ
พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหอบ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็ก). บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
22. Chaimongkol N, Pongjaturawit Y. Associated between selected family and
social factors and health behavior of school-age children in Thailand. Journal of Science, Technology and Humanities 2014; 12(1): 33-42.
23. Evan D, Clark NM, Feldman CH, Rips J, Kaplan D, Levison MJ, et al.
A school health education program for children with asthma aged 8-11 years. [online]. 2009
[cited 2012 September 20]. Available from: https://www.heb.sagepub.com/cgi/content.
24. Butz A, Pham L, Lewis L, Lewis C, Hill K, Walker J, et al. Rural children with asthma: Impact of a parent and child asthma education program. Journal of Asthma 2008; 42(10): 813-821.
25. Barrett J, Dunkinn JW, Shelton M. Examination of the NHANES Data Set:
Pets, Wheezing, and Allergy Symptoms. Southern Online Journal of Nursing Research 2001; 1(2): 1-10.