ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการ

Main Article Content

Bhorntida Tepprasit
Prasopchai Phasunon

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการทดสอบ และศึกษาระดับปัจจัยการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการทดสอบ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการ 5 บริษัท จำนวน 132 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น เลือกสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเข้าร่วม


                        ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ด้านการรับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร จากหัวหน้างาน / เพื่อนร่วมงานสูงที่สุด และได้รับข้อมูลข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ /วารสารภายนอกบริษัท น้อยที่สุด ทั้งนี้ทางห้องปฏิบัติการควรเสริมสร้างข้อมูลในด้านของการนำข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ /วารสารภายนอกบริษัทมาให้ทางนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มขึ้น โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันในด้านของกฎระเบียบ ข้อกำหนดในการใช้ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น สำหรับด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้น จึงควรมีการติดตั้งป้ายแจ้งเตือนเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล


                         เมื่อพิจารณาถึงด้านความสม่ำเสมอของการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลนักวิทยาศาสตร์ใช้อุปกรณ์ป้องกันมือและแขนทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน สำหรับด้านความเหมาะสม/สะดวกในการใช้อุปกรณ์ป้องกันป้องกันอันตรายส่วนบุคคล พบว่า นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมีขนาดที่เหมาะสมกับส่วนของร่างกายที่ต้องการป้องกัน สูงที่สุด เช่นกัน ในขณะที่ด้านพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม


พบว่า นักวิทยาศาสตร์จะไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลหากเห็นว่าชำรุด สูงที่สุด และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพิ่มเติม น้อยที่สุด ดังนั้น ทางห้องปฏิบัติการควรมีการจัดทำป้ายสื่อความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลทัศนคติให้นักวิทยาศาตร์มีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความแตกต่างในด้านอายุที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือ และด้านความเหมาะสม/สะดวกในการใช้อุปกรณ์ป้องกันป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากตัวแปรในด้านอายุมีปัจจัยสำคัญเนื่องจากผู้ที่มีอายุน้อยจะให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันมากกว่าผู้ที่มีอายุมาก เพราะผู้ที่มีอายุในการทำงานมากขึ้นจะมีความตระหนักในการทำงานน้อยลงเนื่องจากเห็นว่าตนเองมีความเชี่ยวชาญ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีความชำนาญจะทำให้มีความระมัดระวังเป็นพิเศษ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตรายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2555.
2. จินตนา เนียมน้อย. มัณฑนา ดำรงศักดิ์ และวนลดา ทองใบ. พยาบาลสารปีที่ 40 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน. 2556.
3. อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2556.
4. สุรชัย ชัยขวัญงาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงาน บริษัท อเมริกัน บิวเดอร์ จำกัด. 2552.
5. ดิเรก หมานมานะ. การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานประกอบรถยนต์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2549.
6. จันทร์จีรา ยารวง. ปัจจัยทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงในคนงานโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลอาชีวอนามัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553.
7. Hong O, Lusk SL, & Ronis DL. Ethnicity Differencrs in predictors for Hearing Protection Behivor in Black and White Workers. Research & Theory for Nursing Practice : An International Journal. 2005.
8. ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพนิมิตการพิมพ์. 2544.
9. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.2545.
10. อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ในการทำงาน และพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติงาน ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 2552.