ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนของประชาชน ในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

Waristha Sangyangyai
Srirat Lormphongs
Boontham Kijpredarborisuthi

บทคัดย่อ

ขยะเป็นผลตามมาจากการขยายตัวทางประชากรและเศรษฐกิจ  เมื่อชุมชนมีประชากรหนาแน่นเพิ่มขึ้น ปริมาณขยะจากครัวเรือนที่ประชาชนนำไปทิ้งเพื่อให้เทศบาลนำไปกำจัดก็เพิ่มมากขึ้น  ก่อให้เกิดปัญหาการจัดการขยะของเทศบาล  จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนลดขยะจากครัวเรือน  การวิจัยนี้จึงต้องการค้นหาปัจจัยที่ผลต่อพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนของประชาชน  กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะครัวเรือน  211  คน  ซึ่งคัดเลือกมาจากเขตเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า  จังหวัดสมุทรปราการ  เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  วัดการรับรู้ประโยชน์  การรับรู้อุปสรรค  การรับรู้โอกาสเสี่ยง  ความคาดหวังผลลัพธ์ การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการลดขยะ  มีความเที่ยง 0.88, 0.89, 0.92, 0.89, 0.86 และ 0.92  ตามลำดับ  ข้อมูลวิเคราะห์ด้วย  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนระดับน้อย  ได้คะแนนเพียงร้อยละ 57.3 (= 45.86, S.D.= 15.86)โดยมีพฤติกรรมคัดแยกไว้ใช้ประโยชน์มากสุด  รองลงมาคือการนำกลับมาใช้ซ้ำ  การลดการใช้  การกำจัดบางส่วน ได้คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 65.4, 59.6, 56.7 และ 47.6 ตามลำดับ มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงมากที่สุดร้อยละ 84.8 (= 67.87, S.D.= 8.44) รองลงมาคือ การรับรู้ประโยชน์  ความคาดหวังผลลัพธ์ การรับรู้อุปสรรค  และการสนับสนุนทางสังคม  ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.3 (= 65.82, S.D.=8.20), 78.3 (= 62.67, S.D.= 8.92), 57.5 (= 45.96, S.D.= 11.73) และ 42.7 (= 45.86, S.D.=11.79) ตามลำดับ   ปัจจัยที่มีผลร่วมกันทำนายพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือน ได้แก่  จำนวนสมาชิกในครัวเรือน  การสนับสนุนทางสังคม  การรับรู้โอกาสเสี่ยงและลักษณะที่อยู่อาศัย  โดยสามารถร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 41.3 ดังสมการ


Y =  -3.0005+ .571 (การสนับสนุนทางสังคม) + 1.784 (จำนวนสมาชิกในครัวเรือน) + .425(การรับรู้โอกาสเสี่ยง) - 5.070 (ลักษณะที่อยู่อาศัย) 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. กรมควบคุมมลพิษ.รายงานประจำปี 2557.กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลลิคซิ่ง: 2557.
2. ลีลานุช สุเทพารักษ์และนัยนา ใช้เทียมวงศ์. การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาล.
วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม2558 ; 38(3):114-128.
3. สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 4 ปี (พ.ศ. 2553-2556).
สมุทรปราการ: พี.วี. ออฟเซ็ต. 2556.
4. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมจังหวัด
สมุทรปราการ ประจำปีงบประมาณ 2559. เอกสารประกอบการประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรปราการ.2558.
5. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.ขยะล้นเมืองผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมที่เกิดจากตัวเรา. วารสาร Green Research 2557; 11:1-10.
6. ประเสริฐ ภาวสันต์และคณะ. ถอดบทเรียน 5 ไม่ การจัดการขยะของชุมชน. วารสารสิ่งแวดล้อม
2556 ;18(2):18-24.
7. Daniel WW. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences (6th ed.).
New York: John Wiley & Sons. Inc; 1995.
8. กมลทิพย์ ชื่นหมื่นไวย.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะเทศบาลตำบลเทพาลัยอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554 ;4(2) :18-22.
9. Bloom BS. Taxonimy of education objective handbook I: Cognitive Domain. New York: David
Mackay; 1976.
10. บุญจง ขาวสิทธิวงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกมูลฝอยชุมชน
ในเขตยานนาวา. Journal of the Association of Researchers 2554 ;16(3), 152-161.
11. Becker MH. The health belief model and preventive health behavior. Health Education
Monographs, 2(4). Baltimore, MD: Johns Hopkins University, winter;1974.
12. Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: Freeman and Company ;1997.
13. วลัยพร สกุลทอง. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตา
พุต จังหวัดระยอง.[สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป].ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา; 2551.
14. รุ่งอรุณ วงษ์อินทร์.พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี.[สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2556.
15. ปรเมษฐ ห่วงมิตร. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตลาดพร้าว
กรุงเทพมหานคร.[สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2550.
16. ปาณิศา เมฆกระจาย.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะ : ศึกษากรณีชุมชน
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร.[สารนิพนธ์สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ; 2553.
17. Rogers RW. Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A revised theo-ry of protection motivation. In Cacioppo J & Petty R (Eds.), Social Psychophysiology. New York: Guilford Press.1983; 153-176.
18. ฤชุดา เทยากุล. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล. เนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา [รายงานการวิจัย รัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์]. สงขลา:มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2555.