ผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศของหญิงตั้งครรภ์ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง

Main Article Content

Sukanya Noypitak
Nipa Maharachpong
Yuvadee Rodjarkpai

บทคัดย่อ

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศของหญิงตั้งครรภ์ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง


                      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงซึ่งตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีระยอง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศ จำนวน 5 กิจกรรม ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับบริการตามปกติ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม(การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม) และการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent-Samples t-test


                    ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลองหญิงตั้งครรภ์กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม และการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองและเพิ่มขึ้นมากกว่าหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ < 0.001   ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าผลของโปรแกรมส่งเสริมการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีการป้องกันตนเองจากการได้รับมลพิษทางอากาศดีขึ้น ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพในคลินิกฝากครรภ์ควรจัดโปรแกรมนี้ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างด้วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. Davis ME, Blicharz AP, Hart JE, Laden F, Garshick E, and Smith TJ. Occupational Exposure to Volatile Organic Compounds and Aldehydes in the U.S. Trucking Industry. Environ SciTechno 2007; 41(20): 7152-7158.
2. Dolk H, Vrijheid M, Armstrong B, Abramsky L, Bianchi F, Garne E, Nelen V, Robert E, Scott JE, Stone D, Tenconi R. Affiliation Risk of congenital anomalies near hazardous-waste land fill sites in Europe: the EUROHAZCON study. Lancet 1998; 352 (9126):423-427.
3.Lin MC, Chiu HF, Yu HS, Tsai SS, Cheng BH, Wu TN, Sung FC, Yang CY. Increased risk of preterm delivery in areas with air pollution from a petroleum refinery plant in3 Taiwan. J Toxicol Environ Health A 2001; 64 (8) : 637-44.
4. Darrow LA, Klein M, Strickland MJ, Mulholland JA, Tolbert PE. Ambient Air Pollution and Birth Weight in Full-Term Infants in Atlanta, 1994 – 2004. Environ Health Perspect 2001; 119: 731-737.
5. นันทวรรณ วิจิตรวาทการ และคณะ. โครงการการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากอุตสาหกรรม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.); 2553.
6. Pender NJ. Health Promotion in Nursing Practice (5th Ed). New Jersey: Pearson Education, Inc; 2006.
7. Lemshow S, David W, Hosmer Jr. DW, Janelle Klar J & Lwanga SK. Adequacy of sample size in health studies. WHO /New York: John Willey & Son 1990.
8. ชนาธิป วัฒนนภาเกษม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสมลพิษทางอากาศของหญิงมีครรภ์ในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดจังหวัดระยอง.วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
9. อารยา ภักดิ์ศร. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรบัณฑิต, สาขาสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2553.
10. วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น; 2555.