คาบาร์เร่ต์ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชัพวิชญ์ ใจหาญ
สุนิษา สุกิน
นิศารัตน์ มุ่งพุทธรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา รูปแบบ องค์ประกอบการแสดง และบทบาทหน้าที่ของ
คาบาร์เร่ต์ในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีต่อสังคม โดยได้ทำการสำรวจคาบาร์เร่ต์ทุกคณะในจังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการศึกษาข้อมูลเอกสารต่าง ๆ


ผลการวิจัยพบว่า  คาบาร์เร่ต์ในจังหวัดเชียงใหม่ มีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบโรงละคร มีที่นั่งผู้ชมคล้ายกับโรงภาพยนตร์ มีเวทีขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกาย ฉาก แสง สี เสียง เต็มรูปแบบ ฉากสามารถเปลี่ยนได้ใช้นักแสดงเป็นจำนวนมาก ท่าเต้นมีทั้งรวดเร็วแข็งแรง และสวยงามอ่อนช้อยตามรูปแบบของการแสดง 2) รูปแบบผับบาร์ สถานบันเทิง มีโต๊ะ บาร์ สำหรับให้นักท่องเที่ยวนั่งดื่มสังสรรค์พร้อมรับชมการแสดง เวทีมีขนาดเล็ก ใช้นักแสดง 1-5 คน ฉากไม่สามารถเปลี่ยนได้ ท่าเต้นจะเน้นความแข็งแรงเร้าใจ สนุกสนานตามจังหวะ และ 3) รูปแบบแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่พบคือ เชียงใหม่ ไนท์ ซาฟารี ซึ่งมีการแสดงคาบาร์เร่ต์เป็นส่วนหนึ่ง แสดงบริเวณลานกว้าง  ฉากเป็นธรรมชาติ มีที่นั่งสำหรับนักท่องเที่ยว ท่าเต้นมีความแข็งแรงรวดเร็วสนุกสนาน และท่ารำที่อ่อนช้อยสวยงาม องค์ประกอบของการแสดงแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ 1) แนวความคิดในการสร้างสรรค์การแสดง 2) นักแสดง 3) เครื่องแต่งกาย 4) ฉาก และ 5) ท่าเต้น ส่วนบทบาทหน้าที่นั้น มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) ด้านคุณค่า 2) ด้านการท่องเที่ยว 3) ด้านเศรษฐกิจ และ 4) ด้านสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย