โครงการพัฒนาโดยองค์กรภาครัฐกับวัฒนธรรมชนเผ่ากะเหรี่ยง

Main Article Content

เกษมสันต์ ยศรุ่งโรจน์
ณรงค์ศักดิ์ จันทร์นวล

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของโครงการพัฒนาโดยองค์กรภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมชนเผ่ากะเหรี่ยงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของโครงการพัฒนาโดยองค์กรภาครัฐในด้านการศึกษา การเกษตร สาธารณสุขและยาเสพติดที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จกับวัฒนธรรมชนเผ่ากะเหรี่ยงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 3) เสนอแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาโดยองค์กรภาครัฐ ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเผ่ากะเหรี่ยงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ราษฎรชนเผ่ากะเหรี่ยง จำนวน 79 คน ผู้นำทางปัญญา จำนวน 20 คน ผู้นำท้องถิ่น จำนวน 29 คน ข้าราชการที่พ้นตำแหน่ง จำนวน 11 คน และข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 34 คน รวมทั้งสิ้น 174 คน


  ผลการวิจัยพบ ดังนี้


              1) ปัญหาและอุปสรรคของโครงการโดยองค์กรภาครัฐ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่เกิดจากการโยกย้ายข้าราชการ ไม่มีข้าราชการในพื้นที่ที่สามารถสื่อสารภาษากะเหรี่ยงได้ ในพื้นที่ต้องการให้มีชาวกะเหรี่ยงเข้ามามีบทบาทหรือรับราชการอยู่ในพื้นที่


              2) ความสัมพันธ์ระหว่างโครงการพัฒนาโดยองค์กรภาครัฐกับวัฒนธรรมชนเผ่ากะเหรี่ยง มีทั้งประสบผลสำร็จและไม่ประสบผลสำเร็จต่อโครงการพัฒนาองค์กรภาครัฐ


              3) แนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาโดยองค์กรภาครัฐ ได้แก่ โครงการด้านการศึกษา มีการขยายการจัดการเรียนการสอนของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง (ศศช.)  และการปรับรูปแบบของการศึกษาให้มีความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โครงการด้านการเกษตร สนับสนุนการปลูกพืชที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นพืชหมุนเวียน ภาครัฐมีการให้ความรู้ด้านวิชาการเกษตร สนับสนุนแหล่งเงินทุน ส่งเสริมการบริหารจัดการทางการตลาด โครงการด้านสาธารณสุข มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของชนเผ่ากะเหรี่ยงโดยจัดทำประวัติและการมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพและโครงการด้านยาเสพติด มีการจัดอบรมการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด การบำบัดยาเสพติดพร้อมทั้งมีการส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้รับการบำบัดยาเสพติด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ถาวร ฟูเฟื่อง. (2543). ชาวเขา: ตำนานชนเผ่าต่างวัฒนธรรม. เชียงใหม่: ม.ป.ท.

พจนา นูมหันต์, อุษา ตั้งธรรม, สุรีย์ สุทธิสังข์, และ วิภาดา กระจ่างโพธิ์. (2555). การพัฒนารูปแบบและคุณภาพผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าจากผ้าย้อมคราม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ประเสริฐ ตระการศุภกร. (2550). การพัฒนาศักยภาพชุมชนชาวเขากับการลงทุนทางวัฒนธรรมเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม. งานวิจัยวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ศศิน เฉลิมลาภ. (2554). เราทำงานให้พี่สืบ. ค้นเมื่อจาก http://www.seub. or.th/index.php?option=com_content&view=section&layout=blog&id=2&Itemid=11

สิริพร กัณฑมณี. (2550). การบริหารโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).

สิริวรางค์ ปัญญาแก้ว. (2548). กระบวนการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สุรีรัตน์ สมบัติกำไร. (2551). การปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชนเผ่าในโรงเรียนศึกษา สงเคราะห์เชียงใหม่: กรณีศึกษาชนเผ่าปกาเกอะญอ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สำนักงานอำเภออมก๋อย, กรมการปกครอง. (2556). ข่าวประชาสัมพันธ์กรมการปกครอง. สืบค้นจาก www.dopa.go.th

เหนือ แสงลำพูน. (2552). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานของโครงการเกษตรวิชญา จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อัครภูมิ ชนะใหญ่. (2556). การวิเคราะห์โครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียนกับการเสริมสร้างจิตสำนึกในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่เยาวชนชนจีนฮ่อในโรงเรียนตามแนวชายแดน ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อำนวย ปิ่นพิลา. (2551). การถือครองที่ดิน และการทำไร่หมุนเวียนที่มีผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมของครัวเรือนชนเผ่ากะเหรี่ยง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (ดุษฎีนิพนธ์, สาขาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา).