ศฤงคารรสในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี

Main Article Content

จุรีย์พร อำพันธ์
ศรีวิไล พลมณี
สนิท สัตโยภาส

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องศฤงคารรสในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศฤงคารรสในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ จำนวน 64 ตอน โดยใช้กระบวนการอ่านแบบวิเคราะห์และอ่านเพื่อจับประเด็นเกี่ยวกับความรัก วิเคราะห์และสังเคราะห์ประเภทของความรักตามทฤษฎีศฤงคารรสของกุสุมา  รักษมณี


ผลการวิจัยพบว่ามีศฤงคารรสในรูปแบบความรักที่สรุปได้ คือ ความรักต่อบุคคล ได้แก่ ความรักต่อทายาท ความรักต่อบุพการี ความรักต่อญาติพี่น้องและความรักต่อเพศตรงข้าม


ความรักต่อเพศตรงข้ามตามทฤษฎีศฤงคารรส แบ่งประเภทความรักไว้ 2 ประเภท คือ สัมโภคะและ
วิประลัมภะ  1. สัมโภคะ คือ ความรักของผู้ที่ได้อยู่ด้วยกันกับบุคคลผู้เป็นที่รัก ดังเช่น ความรักของศรีสุวรรณกับนางเกษรา ความรักของพระอภัยมณีกับนางสุวรรณมาลี ความรักของพระอภัยมณีกับนางละเวง ความรักของสินสมุทรกับนางอรุณรัศมี  ความรักของสุดสาครกับนางเสาวคนธ์  ความรักของหัสไชยกับนางสร้อยสุวรรณ
นางจันทร์สุดา ความรักของท้าวสุทัศน์กับนางปทุมเกสร  ความรักของท้าวทศวงศ์กับมเหสี ความรักของ
ท้าวสุริโยไทกับนางจันทรวดี ความรักของพราหมณ์วิเชียรกับนางจงกลนี  ความรักของพราหมณ์โมรากับ
นางประภาวดี ความรักของพราหมณ์สานนกับนางอุบลรัศมี 2. วิประลัมภะ คือ ความรักของผู้ที่อยู่ห่างไกลกันหรือพลัดพรากจากกันกับบุคคลผู้เป็นที่รัก ดังเช่น ความรักของพระอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทร นางเงือกและนางวาลี ความรักของศรีสุวรรณกับนางรำภาสะหรี ความรักของสินสมุทรกับนางยุพาผกา ความรักของสุดสาคร
กับนางสุลาลีวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กตัญญู ชูชื่น. (2543). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

กระแสร์ มาลยาภรณ์. (2530). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้น ติ้งเฮ้าส์.

กาญจนา เรืองทุ่ง และธีราพร ขวัญคง. (2549). การวิเคราะห์รสวรรณคดีไทยจากเนื้อร้องเพลงไทยเดิมที่มาจากวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้างขุนแผน อิเหนา และพระอภัยมณี. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กุลธิรัตน์ บุญธรรม. (2556). วิเคราะห์ศฤงคารรสในบทเพลงของปาน ธนพร แวกประยูร. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

กรมศิลปากร. (2550). อลังการศาสตร์. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรจโพรดักส์ จำกัด.

ดนยา วงศ์ธนะชัย. (2542). วรรณกรรมปัจจจุบัน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ดวงมนต์ จิตร์จำนง. (2549). คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพดล จันทร์เพ็ญ. (2534). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: แสงศิลป์การพิมพ์.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (2522). วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

ประทีป เหมือนนิล. (2542). 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น จัดพิมพ์.

พระมหากำธร ทองประดู่. (2548). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ศฤงคารรสในบทละครสันสกฤตเรื่องปรียทรรศิกา. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พระคำพล จันทร์โท และ พระลอย แดงอิ่ม. (2549). วิเคราะห์รสวรรณคดีที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องลีลาวดี ของธรรมโฆษ. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ภคพร พิลาบ. (2553). คุณค่าเชิงวรรณศิลป์ในเรื่องสั้นชุด ฟ้าบ่กั้น ของลาว คำหอม. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ภัสร์ธีรา ฉลองเดช. (2548). วิเคราะห์รสวรรณคดีที่ปรากฏในนิทานเวตาล ฉบับพระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ตามทฤษฎีรสวรรณคดีสันสกฤต. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ).

มณฑิรา พรศาลนุวัฒน์. (ม.ป.ป.). จิตวิทยาความรัก. สืบค้นจาก https://www.thaiclinic.com/medbible/love.html

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2541). ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2560). ทำไมมนุษย์ถึงต้องมีความรัก. สืบค้นจาก https://www.baanmaha.com/community/threads/49364

ศศิธร แสงเจริญ. (2536). การวิเคราะห์ศฤงคารรสในพระนลคำหลวง สาวิตรี ศกุนตลาและมัทนะพาธา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2549). พระอภัยมณี การศึกษาเชิงวรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สยาม.

สุนทรภู่. (2544). พระอภัยมณี เล่ม 1-2. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.

เสถียรโกเศศ. (2533). การศึกษาวรรณคดีในแง่วรรณศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

อังคณา ศิริวัฒน์. (2555). สุนทรียภาพในบทโขนเรื่องรามเกียรติ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).