แนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ

Main Article Content

จิราจันทร์ คณฑา
ปิ่นแก้ว โชติอำนวย
วิภา ประสิทธิโชค
อุษนันท์ อินทมาศน์

บทคัดย่อ

การสังเคราะห์งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นในประเทศไทย ในประเด็นแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และประสิทธิผลของแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย การสืบค้นงานวิจัยโดยการรวบรวมรายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554– 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการสังเคราะห์งานวิจัยประกอบด้วย แบบคัดกรองงานวิจัย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกการสกัดข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา จำแนกรูปแบบของการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นด้วยการสรุปบรรยายเชิงเนื้อหา
ผลการสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบครั้งนี้ พบว่า มีงานวิจัยที่สามารถนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์จำนวน 7 เรื่อง โดยมีรูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 7 รูปแบบ ได้แก่ 1)โปรแกรมการส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย 2)โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคม 3)โปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น4) อบรมเสริมพลังให้แกนนำนักเรียนเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 5) รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 6) รูปแบบการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และ 7) รูปแบบป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงไทยตอนต้นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในเรื่องประสิทธิผลของแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และทักษะทางด้านการให้คำปรึกษา ความเชื่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ระดับแรงจูงใจในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศหลังใช้รูปแบบการป้องกันมีระดับสูงขึ้น แต่มีงานวิจัยจำนวน 2 เรื่องที่ได้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น แต่ไม่ได้มีการวัดประสิทธิผลของรูปแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2558). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

กิ่งดาว มะโนวรรณ. (2553). แนวทางการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์: กรณีศึกษาโครงการคุณแม่วัยใสห่วงใยอนาคตศูนย์ฝึกอาชีพสตรีจังหวัดเชียงราย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

จิราวรรณ ศิริโสม. (2554). โปรแกรมการสอนเพศศึกษาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงเรียน: การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล).

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุนีย์ ลำปั่น และแอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. (2556). การพัฒนารูปแบบป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงไทยตอนต้นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. Pacific rim Internationaljournal of nursing, 17(2), 131-147.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2552). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย: การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

นันทพร แสนศิริพันธ์. (2555). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน นันทพร แสนศิริพันธ์, ฉวี เบาทรวง (บรรณาธิการ). การพยาบาลผดุงครรภ์ เล่ม 3 สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่: บริษัทครองช่างพริ้นติ้ง จำกัด.

ปัทมา ผ่องสมบูรณ์ และโสภิต จำปาศักดิ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดพิจิตร. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 10(3), 260-275.

ลำเจียก กำธร. (2557). วัยรุ่น: วัยวุ่นกับปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมป้องกันอย่างไร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(3), 97-105.

วันวิสาข์ บัวลอย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ภรณี วัฒนสมบูรณ์ และนิรัตน์ อิมามี. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(1), 127-142.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ดารุณี จงอุดมการณ์, กฤตยา แสวงเจริญ, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, สมพร วัฒนนุกุลเกียรติ,...,สรวงสุดา เจริญวงศ์. (2554). การศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (แม่วัยใส). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชาติ รัตถา, เรขา อรัญวงศ์ และรัชนี นิธากร. (2558). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(2), 142-160.

Jadad, A. R., Moore, R. A., Carroll, D., Jenkinson, C., Reynolds, D. J., Gavaghan, D. J.,…, McQuay, H. J. (1996). Assessing the quality of reports of randomized clinical trials: Is blinding necessary?. Control Clinical Trials, 17, 1–12.

Kirby, D. (2001). Emerging answers: research finding on programs to reduce unwanted Teenage Pregnancy. Washington, DC, USA: National Campaign to Prevent Teen. Retrieved from http://www.teenpregnancy. org/ store/item.asp?productld=128pregnancy

World Health Organization. (2017). World Health Statistics 2017. Geneva, Switzerland: World Health Organization.