การสร้างชุดการสอนโดยใช้นิทานคุณธรรมเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ชยาทิพย์ เทพโพธา
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนการอ่านจับใจ ความสำคัญจากนิทานคุณธรรม 8 ประการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนจากชุดการสอนการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรม 8 ประการ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อชุดการสอนการอ่านจับใจความสำคัญ จากนิทานคุณธรรม 8 ประการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะ การอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 8 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.95/80.00 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลการหาความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีการสุ่มจากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ได้คะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 15.03 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 37.58 ได้คะแนนหลังเรียนเท่ากับ 36.82 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.05 มีค่าความก้าวหน้าเท่ากับ 21.79 คิดเป็นร้อยละ 54.47 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.94, S.D. = 0.20) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำเนียร เล็กสุมา. (2552). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิด. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ชนาธิป พรกุล. (2551). การออกแบบการสอน การบูรณาการการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเพื่อการวิจัย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ประภาวดี แก่นจันทร์หอม. (2550). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เยาวลักษณ์ สาระโน. (2551). การใช้ชุดการสอนนิทานเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

วรรณี ลิมอักษร. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นำศิลป์โฆษณา.

สำลี รักสุทธี. (2553). การจัดทำสื่อนวัตกรรมและแผนประกอบสื่อนวัตกรรม. นนทบุรี: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

สิทธิพงศ์ สิริวราพงศ์. (2550). การพัฒนาชุดการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นวลราษฏ์รวิทยา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

สุกัญญา วันชนะ. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้หนังสือนิทานชาดก
คำกลอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาศเมฆ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช).

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุชานันท์ ทองดี. (2552). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนโยเซฟ บางนา จังหวัดสมุทรปราการ. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).

สุรางค์ สามทอง. (2550). การสร้างชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

สุวิทย์ มูลคำ. (2550). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.