คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จตุรงค์ ประกายสกุล
วราภรณ์ ศิริสว่าง
วันทนีย์ ชวพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะแทรกซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และการปฏิบัติตนกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินเพศชายและหญิงที่มีภาวะแทรกซ้อนและรักษาตัวที่โรงพยาบาลสารภี ในระหว่างวันที่  16 มีนาคม 2559 ถึง 21 เมษายน 2559  จำนวน 105 คน เลือกสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยรวมอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 84.36 ± 1.40 มิติที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ มิติด้านสังคม (93.45 ± 9.82) รองลงมาคือมิติด้านข้อจำกัดทางจิตใจ (92.38 ± 2.28) มิติด้านสุขภาพจิต (87.47 ± 1.15) มิติด้านข้อจำกัดทางร่างกาย (87.14 ± 2.75) มิติที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยสุดคือมิติด้านสุขภาพโดยรวม (64.52 ± 2.17) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต คือ การปฏิบัติตน (p-value = 0.002) ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน อายุที่เริ่มป่วยเป็นโรคเบาหวาน ระยะเวลาการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือด รอบเอวและดัชนีมวลกาย และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานไม่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

จตุรงค์ ประกายสกุล

โรงพยาบาลสารภี 147 ม.3 ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140

References

กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย และคณะ. (2548). “ความน่าเชื่อของแบบสอบถามเอสเอฟ-36 รุ่นที่ 2 ฉบับภาษาไทยในการประเมินอาการผู้ป่วยปวดหลัง”. วารสารจดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์, 88(10), 1355 – 1361.

กฤติเดช มิ่งไม้ พิชสุดา เดชบุญ และอภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาในหน่วยตรวจอายุรกรรมของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 6. 9 กรกฎาคม 2559 (น. 1 – 7). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2552). คุณภาพชีวิตและปัจจัยทางจิตสังคมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(2), 185 – 196.

จุฑามาศ เกษศิลป์ พาณี วิรัชชกุล และอรุณี หล่อนิล. (2556). การจัดการดูแลตนเอง ความรู้ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ก่อน–หลัง เข้าโปรแกรมการจัดการการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขต อ.เมือง จ.อุทัยธานี, วารสารกองการพยาบาล, 40(1), 84 – 103.

ชัชลิต รัตรสาร. (2556). การระบาดของโรคเบาหวาน และผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาล รามาธิบดี.

ดวงเดือน จันทสุรียวิช. (2552). ภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).

ถาวร ศรไชย. (2557). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อเบาหวาน ขึ้นจอประสาทตา. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน).

ประภา พิทักษา และปัณสุข สาลิตุล. (2555). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์ แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย”. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 10(1), 43 – 51.

ภัทรพงษ์ ศรีคีรีราษฎร์ รวีวรรณ สุวรรณปักษิณ และรุ้งลาวัลย์ แสงรัตน์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เป็นโรคเป็นโรคเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน : กรณีศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร).

โรงพยาบาลสารภี. (2557). ข้อมูลพื้นฐานขององค์กร. เชียงใหม่. โรงพยาบาลสารภี.

วรรณรา ชื่นวัฒนา และณิชานาฏ สอนภักดี. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 163 – 170.

ศลาฆนันท์ หงษ์สวัสดิ์. (2551). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัด ราชบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล).

ศิรินทิพย์ โกนสันเทียะ. (2554). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เมืองยาง อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 17(1), 31 – 43.

สง่า สงครามภักดี. (2555). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 9(1), 38 – 46.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2556). จำนวนและอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน (E10 – E14) ต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) ปี พ.ศ. 2550 – 2556 จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสาธารณสุขและภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2551). เอกสารการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สุภาภรณ์ ตันตินันทตระกูล. (2555). เบาหวาน ถ้ารู้ทัน ก็ไร้เสี่ยง. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 4(2), 125 – 135.

เสกสรร หีบแก้ว. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

โสภิต อุบล. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา. วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้, 28(2), 18 – 24.

อนัญญา บำรุงพันธุ์, วันดี บุญเกิด และพัชรี ประภาสิต. (2554). “ผลการใช้รูปแบบการจัดการตนเองต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่มีภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น โรงพยาบาลพระปกเกล้า”. วารสารกองพยาบาล, 38(1), 42 – 51.

อำนวย สันเทพ. (2532). การศึกษาความต้องการคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระดับตำบล ใน สาธารณสุขเขต 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล).

International Diabetes Federation. (2013). IDF Diabetes Atlas. Sixth Edition. Brussels: De Visu Digital Document Design.

WHO. (2007). Diabetes Prevention and Control: A Strategy for the WHO African Region. Report of the Regional Director at the 15th Regional Committee for Africa, Brazzaville, Republic of Congo.