ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

พงค์นรินทร์ สุริยะโจง
สามารถ ใจเตี้ย
สายหยุด มูลเพ็ชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (Cross-sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 260 คน ได้จากการคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Cochran กำหนดระดับความเชื่อมันที่ 95% ความคลาดเคลื่อน 5% จากจำนวนประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั้งหมด 1,287 คน เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วง คือ Binary Logistic Regression


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 260 คน มีอายุเฉลี่ย 2.41 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.38 เป็นเพศชาย 153 คน คิดเป็นร้อยละ 58.85 เป็นชนเผ่า 157 คน คิดเป็นร้อยละ 60  พบเด็กป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วงจำนวน 30 คน (11.54%) คิดเป็นอัตราป่วย 11,538.46 ต่อแสนประชากร การศึกษาปัจจัยพบว่าบ้านที่ผู้เลี้ยงดูมีการกำจัดอุจจาระของเด็กไม่เหมาะสม เกิดโรคอุจจาระร่วงคิดเป็นร้อยละ 1.6 เกิดโรคอุจจาระร่วงมากกว่าบ้านที่ผู้เลี้ยงดูมีการกำจัดอุจจาระตามหลักสุขาภิบาล 36.30 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted OR 36.30, 95% CI 2.47 - 533.50) และการมีแหล่งน้ำโสโครก น้ำเสีย น้ำทิ้งขังในบริเวณบ้านเกิดโรคอุจจาระร่วง คิดเป็นร้อยละ 6.5 เกิดโรคอุจจาระร่วงมากกว่าบ้านที่ไม่มีแหล่งน้ำโสโครก น้ำเสีย น้ำทิ้งขังในบริเวณบ้าน 4.19 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted OR 4.19, 95% CI 1.08 - 16.16) ปัจจัยด้าน อายุ เชื้อชาติ รายได้ ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมด้านการล้างมือไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคท้องร่วง


สรุปความชุกของโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีของอำเภอทุ่งหัวช้างสูงกว่าความชุกของโรคอุจจาระร่วงระดับประเทศ และสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ของอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน คือการกำจัดอุจจาระของเด็กไม่เหมาะสม และการมีแหล่งน้ำโสโครก น้ำเสีย น้ำทิ้งขังในบริเวณบ้าน การกำจัดเชื้อโรคที่ไม่ถูกวิธีปล่อยทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมก็ย่อมทำให้เกิดการติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งได้ ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะมีประโยชน์ต่อการนำไปวางแผนดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงในระดับพื้นที่ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในพื้นที่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. (2546). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ใหญ่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กำพล กลั่นกลิ่น. (2536). อาการของโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยและการบำบัด. กรุงเทพฯ: พี.บี.ฟอเรน บุคส์ เซนเตอร์.

ชยันตร์ธร ปทุมานนท์. (2541). ระบาดวิทยาการแพทย์. เชียงใหม่: A PHRCG Publishers.

ทนงศักดิ์ อินน้อย. (2552). การเลี้ยงดูของมารดาที่มีผลต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิคม กสิวิทย์อำนวย. (2542). ปัจจัยเสี่ยงของโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรัชญา กรรณิกา. (2551). ระบาดวิทยาของโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปัญจวรรธน์ เปล่งสะอาด. (2542). ปัจจัยเสี่ยงของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2544). การพยาบาลเด็ก เล่ม 2. นนทบุรี: บริษัท ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด.

พิเชษฐ แสนพันดร. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อำเภอสามชัยจังหวัดกาฬสินธุ์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

เพ็ญนี ศรีสุวรรณ. (2552). การปฏิบัติของมารดาและเด็กที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุ 1-4 ปีอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มนตรี ศิริชัย. (2543). ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จังหวัดปัตตานี. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สยมพร ศิรินาวิน. (2546). แนวทางเวชปฏิบัติโรคติดต่อทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. (2557). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2557. ลำพูน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. สืบค้นจาก http://www.lamphunhealth.go.th/web_ssj/view_all.php?id=2

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2546). คู่มือมาตรฐานการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดต่อที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาระบบและมาตรฐานงานระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2546). นิยามโรคติดเชื้อในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.

สำนักระบาดวิทยา. (2557). สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2557. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา. สืบค้นจาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/y57/mcd_Diarrhoea_57.rtf

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุภัควดี สิงห์อุบล. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2538). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

สุริยะ คูหะรัตน์. (2543). การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

Centers for Disease Control and Prevention. (2015). Diarrhea: Common illness, Global Killer. Retrieved from http://www.cdc.gov/healthywater/global/diarrhea-burden.html

Makmee S. (2007). The risk factor of acute diarrhea in children less than five years of age uthaithani province. Bankok: Mahidol university.

Tonani, K.A., Padula, J.A., Julião, F.C., Fregonesi, B.M., Alves, R.I., Sampaio, C.F., Beda, C.F., … Segura-Muñoz SI. (2013). Persistence of Giardia, Cryptosporidium, Rotavirus, and Adenovirus in treated sewage in Sao Paulo state. Brazil: J Parasitol.

World Health Organization. (2013). World health statistics. Geneva: Publications of the World Health Organization.