ท่วงทำนองทางภาษาในบทความของหนุ่มเมืองจันท์

Main Article Content

บุญเรือน อุดสม
นราวัลย์ พูลพิพัฒน์
ศรีวิไล พลมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่วงทำนองทางภาษาในการเขียนบทความของหนุ่มเมืองจันท์ และเพื่อศึกษากลวิธีการเขียนของ หนุ่มเมืองจันท์ โดยศึกษาจากบทความของหนุ่มเมืองจันท์ในคอลัมน์ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ระหว่างเดือนกันยายน 2558 ถึงเดือนกันยายน 2559 จำนวนทั้งหมด 57 บทความ โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร และนำเสนองานวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า ท่วงทำนองทางภาษาในการเขียนบทความของหนุ่มเมืองจันท์  ในด้านการใช้คำมักใช้คำที่เข้าใจง่าย ใช้คำน้อยแต่ความหมายมาก  เช่น คำที่มีความหมายโดยตรง คำที่มีความหมายโดยนัย  คำแสดงอารมณ์ คำนามธรรม   คำเฉพาะกลุ่ม คำภาษาต่างประเทศ  คำย่อ  และคำเลียนเสียงพูด ด้านการใช้ประโยคมีการใช้ประโยคทั้ง 3 แบบ คือประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม และประโยคปฏิเสธ  ด้านการใช้สำนวนพบว่าใช้สำนวน 2 ลักษณะ คือ สำนวนดั้งเดิมหรือสำนวนโบราณ และสำนวนใหม่ ด้านการใช้โวหารการเขียน พบว่ามีการใช้บรรยายโวหาร  และสาธกโวหาร ด้านการใช้โวหารภาพพจน์พบว่า มีการใช้ภาพพจน์อุปมาและอุปลักษณ์


ส่วนด้านกลวิธีการเขียนบทความของหนุ่มเมืองจันท์ผู้วิจัยพบว่ามีวิธีการเขียนที่น่าสนใจทั้งสิ้น
4 ประเด็น ได้แก่ ด้านวิธีการตั้งชื่อเรื่อง ผู้เขียนนิยมวิธีการตั้งชื่อเรื่อง 7 ประเภท คือตั้งชื่อเรื่องโดยใช้แนวคิดสำคัญหรือแกน (Theme) ตั้งชื่อเรื่องให้คมคาย เก๋ แปลก สะดุดใจ ชวนฉงนสนเท่ห์ ตั้งชื่อแบบเปรียบเทียบ ตั้งชื่อเรื่องตรง ๆ ตามเนื้อหาสาระ ตั้งชื่อเรื่องเป็นนามธรรม ตั้งชื่อตามตัวเอกหรือตัวสำคัญของเรื่อง
และตั้งชื่อเรื่องให้ขัดแย้งกัน ด้านกลวิธีการเขียนส่วนนำ ผู้เขียนนิยมใช้กลวิธีการเขียนส่วนนำที่เป็นเรื่องเล่ามากที่สุด  ด้านกลวิธีการเขียนเนื้อเรื่อง ผู้เขียนมีกลวิธีในการเขียนเนื้อเรื่องที่น่าสนใจและนิยมใช้
อย่างสม่ำเสมอ 2 ประเภท โดยใช้การเขียนขยายความด้วยการบรรยายและขยายความด้วยการยกตัวอย่าง 
ด้านกลวิธีการเขียนสรุปความ ผู้เขียนนิยมใช้กลวิธีการเขียนบทสรุปแบบทิ้งท้าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปราบปัญจะ. (2553). การศึกษาลีลาการใช้ภาษาและกลวิธีการเขียนของ ว.วชิรเมธี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

กำพล จันทะกุล. (2550). ลีลาการเขียนและกลวิธีการนำเสนอบทวิจารณ์ภาพยนตร์. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

กิตติชัย พินโน, อมรชัย คหกิจโกศล, อรุณี อัตตนาถวงษ์ และ อาภาโสม ฉายแสงจันทร์. (2554). ภาษากับการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุวรรณ พุฑฒิบัณฑิต. (2543). ภาษาไทย 1. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

ชไมพร ฉายเหมือนวงค์. (2549). ลีลาภาษาในงานเขียนของวาณิช จรุงกิจอนันต์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2522). สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

ชุมสาย สุวรรณชมพู. (2540). การอ่านบันเทิงคดีในภาษากับการสื่อสาร (ฉบับปรับปรุง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภาลัย สุวรรณธาดา, ธิดา โมสิกรัตน์ และสุมาลี สังข์ศรี. (2553). การเขียนผลงานวิชาการและบทความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

นวลวรรณ พลังคะพันธ์พงศ์. (2541). วิเคราะห์ภาษาในนิตยสารบันเทิง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรมาพร สว่างแก้ว. (2556). ลีลาภาษาของ คำ ผกาในบทความทางการเมือง ที่ตีพิมพ์ลงในมติชนสุดสัปดาห์ พ.ศ. 2554 -2553. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

พรทิพย์ ภัทรนาวิก. (2542). การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2526). ความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ 3 ชนิดกับการรวมตำแหน่งวลีในประโยค ภาษาไทย ศาสตร์แห่งภาษา ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรพัสุ สร้อยระย้า. (2542). การวิเคราะห์ภาษาในงานเขียนสารคดีของมนันยา. กรุงเทพฯ: ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโนฒ.

เรนู รอดทัพ. (2550). ลีลาการใช้ภาษาในงานเขียนของพัชรศรี เบญจมาศในเนชั่นสุดสัปดาห์ ระหว่างปี 2545-2548. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระยาอนุมานราชธน. (2531). การศึกษาวรรณคดีในแง่วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.