การพัฒนารููููปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม

Main Article Content

ดวงทิพย์ วิบูลย์ศักดื์ชัย
จารุวรรณ สกุลคู
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
ราชยันย์ บุญธิมา

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาของความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม 2) พัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และ 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาของความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมจากการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม  จากการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของร่างรูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารภาคอุตสาหกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม จำนวน 52 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพการดำเนินงานความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม พบว่า มีการดำเนินงานความร่วมมือโดยแบ่งตามลักษณะการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านหลักการความร่วมมือ ด้านโครงสร้างและกลไกความร่วมมือ ด้านทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนความร่วมมือ และด้านกระบวนการดำเนินการความร่วมมือ ส่วนปัญหาที่สำคัญของการดำเนินงานความร่วมมือ คือ มหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญและขาดแรงจูงใจในการดำเนินงานความร่วมมือด้านการวิจัย อีกทั้งยังขาดระบบการดำเนินงานที่ชัดเจน 2) รูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม มีองค์ประกอบดังนี้ ด้านหลักการความร่วมมือ 15 ข้อ ด้านโครงสร้างและกลไกความร่วมมือ 12 ข้อ ด้านทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนความร่วมมือ 12 ข้อ และด้านกระบวนการดำเนินการความร่วมมือ 15 ข้อ จากการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของร่างรูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม โดยรวม ในแต่ละด้านและแต่ละข้อ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this research were 1) to study the current status of the operation for research collaboration between university and industry, 2) to develop the model for research collaboration between university and industry, and 3) to appraise of suitability and possibility for the model for research collaboration between university and industry. The study was conducted in 3 stages. The first stage, the researcher studied the current status of the operation for Research Collaboration between University and Industry by interviewing 5 experts. The second stage: the researcher developed a draft of the Model for Research Collaboration between University and Industry by focus group of 9 specialists. The third stage: the developed draft model was rated for its suitability and possibility in practice by using a five-point rating scale questionnaire responded by 52 administrators. The findings of this study were concluded as follows. The current status of the operation for research collaboration between university and industry consisted of 4 areas, collaborative, structure and collaborative mechanism, supported resources, and collaborative process. The developed model for research collaboration between university and industry consisted of 4 areas, 1) collaborative of 15 Items, 2) structure and collaborative mechanism of 12 Items, 3) supported resources of 12 Items, and  4) collaborative process of 15 Items. Moreover, it was rated for its suitability and possibility in practice in overall, each area, and each item significantly higher than the criteria at the level of .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชนันท์ ภู่สวาสดิ์. (2551). รูปแบบการสร้างความเป็น หุ้นส่วนดําเนินงานขององค์กร เพื่อพัฒนากําลังคน ระดับกลางของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ คอ.ด. (บริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา), มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อ้างจาก Tennyson, Ros. (2005). The Brokering Guidebook. London: Folium.

ตรีทศ เหล่าศิริหงษ์ทอง. (2551). การศึกษาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมในการ พัฒนานวัตกรรม. วารสารบริหารธุรกิจ, 31(119), 32-47.

เรวัตร ชาตรีวิศิษฐ์. (2539) การบริหารองค์กรยุคใหม่ กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ วิฑูรย์.

สิมะโชคดี. (2539), การปฏิรูปราชการและการจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: โนเบิลมีเดีย.

ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2550). การพัฒนากลยุทธ์ความร่วมมือด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ คด. (อุดมศึกษา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อ้างจาก National Network for Collaboration. (2005). Collaboration Framework Addressing Community Capacity, from http://crs.uvm. edu/nnco/cd/index.htm

ศิโรจน์ ผลพันธิน (2547). รูปแบบการบริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ศูนย์นวัตกรรมนโยบาย. (2546). บทบาทอุดมศึกษาในระบบวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2553). การเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมกับการ เพิ่มศักยภาพทางความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมTRF Policy Brief, ฉบับที่ 4, 1-8.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550).กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2551-2565). กรุงเทพฯ: สํานักงานฯ.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551).แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10.

เรวัตร ชาตรีวิศิษฐ์. (2539) การบริหารองค์กรยุคใหม่ กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2539), การปฏิรูปราชการและการจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: โนเบิลมีเดีย.

ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2550). การพัฒนากลยุทธ์ความร่วมมือด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ คด. (อุดมศึกษา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อ้างจาก National Network for Collaboration. (2005). Collaboration Framework Addressing Community Capacity, from http://crs.uvm. edu/nnco/cd/index.htm

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551).แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10(พ.ศ.2551-2554). กรุงเทพฯ : สํานักงานฯ.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่สิบพ.ศ.2550-2554. กรุงเทพฯ :สํานักงานฯ.

สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559). สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2554 จาก http://www.nrct.go.th/downloads/ps/ policies_strategies_2555-2559/Research

Policy_Strategy_55-9_v8.pdf

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559).

สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559). สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2554 จาก http://www.nrct.go.th/downloads/ps/ policies_strategies_2555-2559/ResearchPolicy_Strategy_55-9_v8.pdf

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) กรุงเทพฯ: สํานักงานฯ

อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์. (2546). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือทางวิชาการด้านการเรียนการสอน ระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การอุดมศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อ้างจาก DนBrion, A.J. & Ireland, R.D. (1993). Management and organization.2nded. Cincinnati, OH: South-West.

Brimble, P. & Doner, R. F. (2007). University industry linkages and economic development: The case of Thailand. World Development, 35, 1021-1036.

Jackson, D. & Maddy, W. (2005). Ohio StateUniversity Fact Sheet: Introduction. Retrieved November 1, 2010, from http://ohioline.osu.edu/bc-fact/0001.html

Kisner, M.K., Mazza, M.J., & Liggett, D.R. (1997).Building partnerships. New Directions for Community Colleges, 97, 23-28.

Schiller, D. (2006). The Potential to upgrade the Thai innovation system by university industry linkages. Asian Journal of Technology Innovation, 14(2), 67-91.

Woolgar, L. (2007). New institutional policies for university-industry links in Japan. Research Policy, 36, 1261-1274.