การเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ประเมินด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

Main Article Content

ธิดารัตน์ กฤดากร ณ อยุธยา
กองกูณฑ์ โตชัยวัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ประเมินด้านการพัฒนาชุมชน อย่างยั่งยืนสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย 1) ศึกษาหลักเกณฑ์การประเมินของต่างประเทศ จำนวน 3 มาตรฐาน คือ LEED (สหรัฐอเมริกา), GREEN STAR (ออสเตรเลีย) และ CASBEE (ญี่ปุ่น) 2) วิเคราะห์ เปรียบเทียบกับมาตรฐาน แบบการประเมินและกฎหมายต่างๆ ของประเทศไทย ที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และ 3) สรุปผลการเปรียบเทียบของ หลักเกณฑ์ประเมินด้านการพัฒนาชุมชน ผลการศึกษาพบว่าการประเมินผลกระทบทาง สิ่งแวดล้อมตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินอาคารอนุรักษ์พลังงานของไทยมี รายการหลักเกณฑ์ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ประเมิน ของต่างประเทศที่นำมาใช้เป็นแนวทางในวางแผนการพัฒนาโครงการได้ ส่วนกฎหมายด้านการผังเมืองและควบคุมอาคารคล้ายคลึงเพียงบางส่วน เพราะเทคโนโลยีการก่อสร้าง การขยายเมือง การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานที่แตกต่างกัน เกณฑ์ประเมินด้านคุณภาพ ชีวิตในชุมชนและการออกแบบให้โครงการมีปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกเป็นเกณฑ์ เพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ของไทย และผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ หลักเกณฑ์ประเมินด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัยต่อไป

คำสำคัญ : การประเมิน, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, อสังหาริมทรัพย์, ระบบให้คะแนนเกณฑ์

 

Abstract

This research aimed at analyzing and comparing the alternative requirements related to sustainable neighborhoods development of real estate projects in Thailand. The methodology comprised: 1) studying three foreign neighborhood and urban development rating systems: the rating systems of Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) (U.S.), Green star (Australia), and Comprehensive Assessment System for Building Environmental Efficiency (CASBEE) (Japan), 2) comparing the foreign systems to existing standards and regulations of Thai laws related to real estate project development, and 3) summarizing the results of comparison of the assessments. The research was found that the environmental impact assessments by environmental regulations and energy and environmental assessment methods for buildings by the standard of Thai Green Building Institute (TGBI) and Department of Alternative Energy Development and Efficiency (DEDE) are partly in accordance with the foreign systems. For urban and building regulations, they are different from those of the foreign rating systems because of difference in construction technologies and sprawling infrastructure development and service. Assessment criteria related to quality of life assessment and relatively community promoting should be added. Finally, the results of this research can be used as a baseline for the sustainable neighborhoods development assessment of residential real estate and as the guideline of developing projects for better quality of life of residents.

Keywords : Assessment, Sustainable development, Real estate, Rating system, Criteria

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2552). พระราชบัญญัติการผังเมืองพ.ศ. 2518. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2552, http://www.dpt.go.th/law/data/plan/core1_1.pdf

_______. (2552). พระราชบัญญัติการผังเมือง(ฉบับที่2) พ.ศ.2525. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2552, http://www.dpt.go.th/law/data/plan/core1_2.pdf

_______. (2552). พระราชบัญญัติการผังเมือง(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2552, http://www.dpt.go.th/law/data/plan/core1_3.pdf

_______. (2552a). พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดินพ.ศ.2543. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม2552, http://www.dpt.go.th/law/data/soil.pdf

_______. (2552b). พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินพ.ศ. 2543. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552, http://www.thaicontractors.com/content/cmenu/7/34/89.html

_______. (2553). การรวบรวมบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553, http://www.dpt.go.th/law/data/building/all.pdf

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2553). พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ. 2543. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์2553, http://www.2e-building.com/download/13.pdf

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). คู่มือแบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสําหรับอาคารที่พักอาศัย (บ้านเดี่ยว บ้านแถวอาคารอยู่อาศัยรวม). กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงานกระทรวงพลังงาน.

สถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI). (2552). หลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว (ฉบับร่าง - มิถุนายน2552). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ.

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2542). แนวทางการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการที่พักอาศัยบริการชุมชนและสถานที่พักตากอากาศ. กรุงเทพฯ: สํานักงานฯ.

สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2541). คู่มือการจัดทําระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553, จากห้องสมุดสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเว็บไซต์: http://www.library.tisi.go.th

Green Building Council of Australia (GBCA). (2008). The Green Star Environmental Rating System for Building and the Green Star - Multi Unit Residential Pilot Rating Tool. Sydney: GBCA.

Rinchumpoo, D. (2010). Preliminary study of the eco-efficiency model of housing estate development under landscape sustainability standards: Case of Bangkok Metropolitan Region (BMR), Thailand. In South East Queensland Property PhD Colloquium, 4 March 2010, Queensland University of Technology, Brisbane, Queensland.

U.S. Green Building Council (USGBC). (2008). LEED for neighborhood development rating system. Washington, D.C.: USGBC.

Urban Japan GreenBuild Council (JaGBC), & Japan Sustainable Building Consortium (JSBC). (2008). Publication CASBEE Technique Manuals: Institute of Building Environmental and Energy Conservation. [online]. Tokyo: JaGBC and JSBC.