พฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มริน เปรมปรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 รายในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเวลาการอ่านหนังสือเฉลี่ยประมาณ 78 นาทีต่อวัน โดยใช้เวลาอ่านหนังสือแบบเรียน เฉลี่ยประมาณ 37 นาที/วัน ใช้เวลาในการอ่านหนังสือนอกเหนือแบบเรียนเฉลี่ยประมาณ 48 นาที/วัน การวิเคราะห์การแปรผันสองทางโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยแบบง่ายพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 9ตัว แต่เมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุพบว่า มีตัวแปรอิสระเพียง 5 ตัวเท่านั้นที่ร่วมกันอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการอ่านหนังสือ โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ รายได้ของครอบครัว รองลงมาเป็น เขตการศึกษา ทัศนคติเกี่ยวกับการอ่าน ระดับคะแนนวิชาภาษาไทย และระดับชั้นปีที่ศึกษาซึ่งอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการอ่านได้ร้อยละ 9.6

คำสำคัญ : พฤติกรรมการอ่านหนังสือ

 

Abstract

The purposes of this study are to understand reading behavior of junior high school students in Bangkok Metropolitan Area under the Office of Basic Education Commission and to analyze the factors that have significant impact on the variation of reading behavior. Data has been collected from 500 samples by self administered questionnaires.The findings indicated that the average time of reading was 78 minutes per day. Students spent 37 minutes per day to read text books and 46 minutes per day to read others. The results from simple regression analysis revealed that only 9 out of 16 variables have significant impact on the reading behavior. The multiple regression analysis, however, indicated that when controlling for the effect of other independent variables in the model only 5 variables can explain the variation of reading behavior.These variables are family income, educational area, the attitude towards reading,Thai subject grades and educational level. all independent variables can explain the variance of reading behavior about 9.6 percen

Keywords : Reading Behavior

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรลดา ไมตรีจิตต์. (2548). การศึกษานิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สํานักงานเขตบางพลัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน, อรพินทร์ ชูชมและสุภาพร ลอยด์. (2529). การส่งเสริมในครอบครัวกับนิสัยการอ่านของนักเรียนวัยรุ่น. บรรณศาสตร์, 9, 47-82.

ดวงพร พวงเพ็ชร์. (2541). การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจากครอบครัวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ถวิล ธาราโภชน์. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

ถาวร บุปผาวงษ์. (2546). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาส. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประสิทธิ์ ทองอุ่น. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.

ปราณี รัตนัง. (2541). ตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดเชียงราย. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัฒนา สุจริตวงศ์. (2544). 14 ปี: บ้านโรงเรียนเพื่อนและจริยธรรม. Life & family, 5, 75.

วิธี แจ่มกระทึก. (2541). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารด่วนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). สรุปผลการสํารวจการอ่านหนังสือของคนไทยพ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 252, http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/read51.pdf

สุวรรณา สันคติประภา. (2532). พฤติกรรมการอ่านและการเลือกอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นของเด็กไทยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อสารมวลชนบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (2552). สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2552, http://www.manager.co.th

Good, Carter V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.

Hurlock, E. B. (1973). Adolescent development. New York: McGraw-Hill.

Munn, Norman L. (1971). The evolution of the human mind. Orlando, FL: Houghton Mifflin.