การฟ้องคดีปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Main Article Content

จรีรัตน์ สร้อยเสริมทรัพย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนถือได้ว่าเป็นหน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองในเรื่องจัดระบบการศึกษาหรือให้ดำเนินกิจการทางการศึกษาอันเป็นกิจการทางปกครอง การจัดระบบการศึกษาไม่ใช้กิจการบริการสาธารณะที่จัดทำขึ้นโดยรัฐเท่านั้น แต่เอกชนก็อาจเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะดังกล่าวได้ด้วย โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 49 วรรคสอง กำหนดให้การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ ซึ่งผลจากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาตามมาว่า ถ้าเกิดข้อพิพาทจากการจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ศาลใดจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการฟ้องคดีเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่ศาลปกครองเพิ่มมากขึ้น อาทิ คดีพิพาทระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับอาจารย์ ในกรณีเลิกจ้างอาจารย์ประจำ หรือคดีพิพาทระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับนักศึกษา เช่น กรณีการให้คะแนนในการสอบวัดผลการศึกษาผิด หรือกรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไม่อนุมัติปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษา เหล่านี้ล้วนเป็นคดีปกครอง ในบทความนี้ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่าสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นสามารถเป็นผู้ฟ้องหรือผู้ถูกฟ้องคดีในศาลปกครองได้ ต่างจากในอดีตคดีพิพาทเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น เป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนจึงต้องฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมเท่านั้น เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างหรือสภาพการจ้าง ต้องฟ้องต่อศาลแรงงาน ดังนั้น สมควรที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการฟ้องคดีปกครองในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อันจะก่อให้เกิดธรรมมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต่อไป

คำสำคัญ : หน่วยงานทางปกครอง, คดีปกครอง, ศาลปกครอง, การบริการสาธารณะ

 

Abstract

Private Higher Education Institutions are empowered by the Administrative agency appointed by the government crown agents to oversee the administration of the education system and other educational related matters. To Structure the Education is not only for government’ public service but private institution must co-operate under the government’s control. Under the Constitution of the Kingdom of Thailand 2007 section 49 paragraph 2 states that “The education and training provided by professional or private organisations, alternative education of the public, self-directed learning and lifelong learning shall get appropriate protection and promotion from the State”. The results of this section place disputes over public service in Private Higher Education Institutions under the court’s jurisdiction. Statistically the number of cases dealing disputes over the Private Higher Education Institutions is increasing significantly. For instance, termination of contract cases Private Higher Education Institutions VS Full Time Lecturers or disputes Private Higher Education Institutions VS Students over a fault in examination marking. Furthermore, there are a number of cases against Private Higher Education Institutions for not granting degrees to students who completed their studies. The afore mentioned are the administrative cases. I would like to state that Private Higher Education Institutions can be sued in the administrative court not as in the past where the dispute between private sectors had to be brought to the Courts of Justice only. For example: the disputes over the employment agreements would be brought in the Labour Law Court. Therefore Private Higher Education Institutions should be aware of the change and find a solution to guard against administrative cases in their institutions and remain impartial as the Private Higher Education Institutions.

Keywords : Government Agency, Administrative Case, Administrative Court, Social Service

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจบดี ชินเบญจภุช. (2548). หลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์รามคําแหง.คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 102/2550.คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 880/2549.

ดิเรก ควรสมาคม. (2547). สาระและความสําคัญกฎหมายสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2541). บริการสาธารณะในระบบกฎหมายปกครองฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์นิติธรรม.

ฤทัย หงส์สิริ. (2546). ศาลปกครองและการดําเนินคดีในศาลปกครอง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วิญญูชน.

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542. (2542, 10 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 94 ก. หน้า1-40.

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522. (2522, 11 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 76. หน้า 1-20.

พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชนพ.ศ. 2546. (2546, 30 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 107 ก. หน้า 1-32.