ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นิภาพร นิลรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ใช้ในการเลือก ท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ (2) เปรียบเทียบ ปัจจัยส่วนบุคคล ที่ใช้ในการเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน และภูมิลำเนา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวกับปัจจัยที่ใช้ ในการเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยอาศัยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยกำหนดโควตา อาศัยแบบสอบถามที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญ ตรวจความเที่ยงตรง และมีค่าความเชื่อมั่น 0.9203 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าสถิติทดสอบที (t-test) ค่าทดสอบเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (one-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s test) การหาค่าความสัมพันธ์ (correlation coefficient) ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านการคมนาคม ด้านสถานที่พัก และด้านข้อมูลข่าวสารตามลำดับ (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และภูมิลำเนา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการท่องเที่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า วัตถุประสงค์หลักของการเดินทางมาท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และโอกาสในอนาคตที่จะกลับมาท่องเที่ยว ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกัน โดยที่จำนวนครั้งของการเดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย บุคคลผู้ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว ระยะเวลาในการท่องเที่ยว ช่วงเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว และงบประมาณที่ใช้ในการท่องเที่ยว ในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กัน

คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีผล การตัดสินใจ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คนไทย อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่

 

Abstract

The objectives of this research were to (1) study factors affecting Thai people’s decision making on ecotourism in Doi Suthap-Pui National Park, (2) compare the aforementioned factors when the sample was classified with gender, age, marital status, education, occupation, average monthly income and hometown and (3) study a relationship between the tourists’ travelling behavior and the affecting factors on their decision. The sample drawn using a quota sampling was 400 Thai tourists in Doi Suthep-Pui Natinal Park. The instrument used in this research was a questionnaire approved by experts to a reliability of 0.9203. The data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, one-way ANOVA. Scheffe’s test was used to find a pair comparison and correlation coefficient was used to find a relationship between the tourists’ travelling behavior and the affecting factors on their decision. The findings were as the followings: (1) in overall, the level of factors affecting Thai people’s decision making on ecotourism in Doi Suthep-Pui National Park were rated at a high level. Individually considered, the mean values of factors were ranged in descending order as follows: tourism attraction, safety, transportation, accommodation and information. (2) comparison of the factors affecting Thai people’s decision making showed that their decision was not different at a significance level of .05 when they were different in gender, age, marital status, occupation and hometown. Being different in education and average monthly income, they had different decisions at a significance level of .01 and .001, respectively. (3) Analysis of relationship between the tourists’ travelling behavior and the affecting factors on their decision showed that the aspects of ‘main purpose for travelling’ and ‘future opportunity to come again’ were positively related. However, these aspects - number of travelling, number of person travelling together, travelling duration, travelling period, and travelling budget – had no relationship among one another.

Keywords: Factors Affecting, Decision Making, Ecotourism, Thai People, National Park Doi Suthep-Pui, Chiang Mai Province

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชไมพร พรเพ็ญพิพัฒน์. (2548). พระธาตุดอยสุเทพ มรดกไทยล้านนา. กรุงเทพฯ: ที เจ เจ.

ธิดารัตน์ คีรี. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นงลักษณ์ อยู่เย็นดี. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความชอบในการเข้าร่วมกิจกรรมโฮมสเตย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ฤทัยวัลค์ มโนสา. (2548). แนวความคิดในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วันเสด็จ ถาวรสุข. (2552). สถานการณ์ท่องเที่ยวเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2552, จาก ผู้จัดการออนไลน์ เว็บไซต์: http://www.manger.co.th/Local/ViewNewsaspx?NewsID=9520000107164

ศุลีมาศ อุปรักขิตานนท์. (2552). welove chiangmai เที่ยวเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: คอมฟอร์ม. ศูนย์ข่าวเชียงใหม่. (2552). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2552, จาก Thaiblog เว็บไซต์: http://www. thaiblognews.com

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.