มนุษย์เงินเดือน: คนงานคอปกขาวและคนงานคอปกสีน้ำเงิน

Main Article Content

สาคร สมเสริฐ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้เป็นผลของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์เงินเดือนเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับผู้สนใจศึกษามนุษย์เงินเดือนในระยะเริ่มต้น โดยได้นำเสนอความหมาย ที่มา ประเภท และวิถีชีวิตของมนุษย์เงินเดือน โดยมีข้อสรุป ดังนี้ มนุษย์เงินเดือน คือ คนทำงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน มีที่มาตั้งแต่ยุคศักดินาของยุโรปและปรากฏให้เห็นชัดเจนภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการขยายตัวของระบบทุนนิยม มนุษย์เงินเดือนนี้มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ คนงานคอปกขาว มีลักษณะการทำงานโดยใช้ความคิดตรึกตรองมากกว่าการใช้กำลังแรงกาย ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และคนงานคอปกน้ำเงิน มีลักษณะการทำงานโดยใช้กำลังแรงกายมากกว่าการใช้ความคิดตรึกตรอง ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดี สังคมโดยทั่วไปมักจะมองว่าคนงานคอปกขาวเป็นมนุษย์เงินเดือน ส่วนคนงานคอปกน้ำเงินเป็นลูกจ้างหรือกรรมกรที่มีเกียรติภูมิของอาชีพต่ำ ส่วนวิถีชีวิตของมนุษย์เงินเดือนจะเกี่ยวข้องกับโลกการทำงานที่พวกเขามักขาดอิสระในด้านความคิดและการกระทำเพราะพวกเขาจำต้องทำงานตามเงื่อนไขขององค์กรเพื่อแลกกับเงินเดือน นอกจากนี้พวกเขายังเกี่ยวข้องกับโลกนอกการทำงานที่เป็นสังคมทุนนิยมเสรีทำให้พวกเขามีแนวโน้มคิด และกระทำตามอิทธิพลของสังคมนั้นผ่านกิจกรรมการบริโภคเพื่อความสะดวกสบาย

คำสำคัญ : มนุษย์เงินเดือน, คนงานคอปกขาว, คนงานคอปกน้ำเงิน

 

Abstract

This article is the result of an analytical and synthetic study regarding the fundamental knowledge of a salaryman for beginners. This work discusses the definition of a salaryman, the background of the position and the nature of the salaryman’s way of life. The salaryman, by definition, is a worker who gets paid monthly. The salaryman position originated from the European feudal system and appeared after the industrial revolution and the expansion of capitalism. There are two main groups of salarymen, which are the "white collar workers” working with their thoughts more so than their strength and tend to work in a positive working environment, while the "blue collar workers” use their strength as their main ability and tend to work in a less desirable working environment. Typically, society may consider those deemed as white-collar workers to be salarymen and blue-collar workers to hold a lower ranking of laborers. In general, blue-collar worker positions also bring with them a lower level of occupation dignity. The salaryman’s way of life is affected by their work in the sense that they usually lose some of their freedom in thinking and acting due to the fact that they must follow their organization’s conditions in trade for their salary; moreover, they are also involved with a liberally capitalist society which is the external world of the working class. This involvement and relationship prompts them to think and act by consuming products and services for their convenience.

Keywords : Salaryman, White collar workers, Blue collar workers

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม เพ็ญภินันท์. (2550). กลุ่มคนชั้นกลางในสังคมเมือง. ใน นลินี ตันธุวนิตย์ (บรรณาธิการ). คนชั้นกลาง. (น. 223-271). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี๊.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2539). ประวัติศาสตร์การปฏิวัติอุตสาหกรรมเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2548).คนคอปกขาวในระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย (พ.ศ. 2475-2535). ในณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ). คนชั้นกลางไทยในกระแสทุนนิยม. (น. 25-109). กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

รจนา ณ เจนีวา. (2553).รจนา รําพึง (ภาคมนุษย์เงินเดือน).สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2553, จากhttp://www.noknoi.com/magazine/series.php?id=2913

วิทยากรเชียงกูล. (2552). ปรัชญาการเมืองเศรษฐกิจสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สายธาร.วีระชาติ ชุตินันท์วโรดม. (2551). มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น.สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2553, จาก http://guru.sanook.com/search/มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น.

ศิริวรรณ สมนึก. (2547). พลังของมนุษย์เงินเดือน. A day weekly, 10 (10).

สุรพล ปธานวนิช. (2543). แนวคิดและปรากฏการณ์ด้านแรงงาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ ฟรีดริค แอแบร์ท.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2553).สรุปผลการสํารวจภาวะทํางานของประชากรเดือนเมษายนพ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานฯ.

Abrahamson, Mark, Mizruchi, Ephriaim H. and Horunung, Carlton A. (1976). Stratification and Mobility New York, Macmillan Publishing Co., Inc.. อ้างถึงในสุรพลปธานวนิช. (2543).แนวคิดและปรากฏการณ์ด้านแรงงาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค แอแบร์ท.

David S. Landes. (1977). The Unbound Prometheus, Technological change and industrial development in Western in Europe from 1750 to the present.Cambridge: Cambridge University Press. อ้างถึงในฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2539). ประวัติศาสตร์การปฏิวัติอุตสาหกรรมเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

Mill, C.W. (1951) 1956.White collar: the American middle class. New York, Oxford University Press. อ้างถึงในณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2548).คนคอปกขาวในระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย(พ.ศ. 2475-2535). ในณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ) .คนชั้นกลางไทยในกระแสทุนนิยม. (น. 25-109). กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

Mundy, John. (1973).Europe in the High Middle Ages 1150-1309. London, Longman Group Limited. อ้างถึงใน สุรพล ปธานวนิช. (2543). แนวคิดและปรากฏการณ์ด้านแรงงาน.กรุงเทพฯ: มูลนิธิ ฟรีดริค แอแบร์ท.

Szymanski, Albert. (1983). Class Structure-A Critical Perspective, New York, Praeger Publishers. อ้างถึงใน สุรพล ปธานวนิช. (2543). แนวคิดและปรากฏการณ์ด้านแรงงาน.กรุงเทพฯ: มูลนิธิ ฟรีดริค แอแบร์ท.