การศึกษาความพร้อมการจัดการความรู้มาใช้ในธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ของกลุ่มบริษัท ไทยรุ่ง พาร์ทเนอร์ส จำกัด

Main Article Content

มัณฑนา ศิริเอก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทราบสถานะความพร้อมการจัดการความรู้ในธุรกิจจำหน่าย รถยนต์ของกลุ่มบริษัท ไทยรุ่ง พาร์ทเนอร์ส จำกัด (2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมด้านปัจจัย ส่วนบุคคลต่อการจัดการความรู้ในธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ของกลุ่มบริษัทไทยรุ่ง พาร์ทเนอร์ส จำกัด บุคลากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรของกลุ่มธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของกลุ่มบริษัท ไทยรุ่ง พาร์ทเนอร์ส จำกัด จำนวน 212 คน จากจำนวนบุคลากรทั้งหมด 470 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ ของกลุ่มบริษัท ไทยรุ่ง พาร์ทเนอร์ส จำกัด มีความพร้อมการจัดการความรู้โดยรวม อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ผลการเปรียบเทียบความพร้อมการจัดการความรู้ในธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ของ กลุ่มบริษัทไทยรุ่ง พาร์ทเนอร์ส จำกัด พบว่า (1) บริษัทที่แตกต่างกันมีความพร้อมการจัดการความรู้ ในองค์การในภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน (2) ฝ่ายงานที่แตกต่างกันมีความพร้อม การจัดการความรู้ในองค์การในภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่าง (3) ตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีความพร้อมการจัดการความรู้ในองค์การด้านทัศนคติที่แตกต่างกัน (4) อายุงานที่แตกต่างกันมีความพร้อมการจัดการความรู้ในองค์การ ด้านภาวะผู้นำที่แตกต่างกัน (5) ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความพร้อมการจัดการความรู้ในองค์การด้านการใช้เทคโนโลยีและ สารสนเทศที่แตกต่างกัน51

คำสำคัญ: ความพร้อม การจัดการความรู้ ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ กลุ่มบริษัทไทยรุ่ง พาร์ทเนอร์ส จำกัด

 

Abstract

The purposes of this research were to (1) examine the level of readiness in implementing knowledge management in a car dealer business of Thairung Partners Group, (2) compare the level of readiness in implementing knowledge management in a car dealer business of Thairung Partners Group classified by personal factors. The sample size of 212 was drawn from 470 employees of the car dealer business of Thairung Partners Group. The statistical tools employed to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance (ANOVA). Overall, the employees in a car dealer business of Thairung Partners Group had readiness in implementing knowledge management at average to high level. The result of hypothesis testing compared the readiness level in implementing knowledge managerment in the car dealer business of Thairung Partners Group were as follow: (1) different companies had significantly different level of readiness in implementing knowledge management in all aspect, (2) different departments had not significantly different level of readiness in implementing knowledge management in all aspect, (3) different positions had significantly different level of readiness in implementing knowledge management in attitude aspect, (4) different experience had significantly different level of readiness in implementing knowledge management in leadership aspect, and (5) different education degrees had significantly different level of readiness in implementing knowledge management in using technology and information aspect.

Keywords: Readiness, Knowledge Management, Car Dealer Business, Thairung Partners Group

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชริยา จันทร์อินทร์. (2550). การศึกษาความพร้อมในการนำระบบการจัดการความรู้มาใช้ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชุลีพร เอี่ยมอำนวย. (2548). การศึกษาความคิดเห็นของพนักงานต่อศักยภาพการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ธีวินท์ เจริญแพทย์. (2552). การจัดการความรู้ของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดภูเก็ต. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

บดินทร์ วิจารณ์. (2548). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

ประพนธ์ ผายืดสุข. (2546). การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการความรู้และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้.

พาขวัญ ลออสอาด. (2548). การศึกษาความสามารถในการจัดการความรู้ของสมาชิกองค์กรชุมชนจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพียงใจ มุสิกะพงษ์. (2550) . สภาพการจัดการความรู้และความต้องการเพิ่มพูนความรู้สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรสำนักงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

มนต์ชัย พินิจจิตสมุทร. (2548). องค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ฟอร์ควอลิตี้.

สงวน ลิ้มเล็งเลิศ. (2548). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการหลังการขายรถยนต์โตโยต้าของศูนย์บริการรถยนต์โตโยต้า บริษัท สหพานิช เชียงใหม่ จำกัด.สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). หลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

Epstein, Lisa Dickstein. (2000). Sharing knowledge in organization: How people use media to communication. Doctoral Dissertation, University of California, Berkely.

Gruber, Hans-Georg. (2000). Does organization culture affect the sharing of knowledge? The case of a department in high-technology company. Master’s Thesis, Ontario Carleton University, Ottawa.

Igel, B., & Numprasertchai, S. (2004). Knowledge management in university R&D in Thailand. Proceedings of 2004 IEEE International Engineering Management Conference, 21 October 2004, Singapore.

Marquardt, M.J. (1996). Building the learning organization: System approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill.

Nanoka, Ikujuro & Takeuchi, Hirotaka. (1995). The knowledge creating company. New York: Oxford University Press.

Senge, Peter M. (1990). The fifth discipline: The art & practice of the learning organization. New York: Currency Doubleday.