การจัดการช่องว่างระหว่างวัยเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

Main Article Content

กนกพันธรน์ โลกุตรวงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ในแต่ละองค์การย่อมมีรูปแบบของการจัดการบุคลากรที่แตกต่างกัน ปัญหาการจัดการบุคลากร ในแต่ละองค์การก็ย่อมแตกต่างกัน ปัญหาหนึ่งในการจัดการบุคลากรคือ ช่องว่างระหว่างวัย ซึ่งมีหลายองค์การที่พยายามแก้ไขปัญหาโดยการรับบุคลากรที่มีอายุใกล้เคียงกันเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย จึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจึงอยู่ที่วิสัยทัศน์และมุมมองของผู้บริหาร ถ้ามองบุคลากรเป็นลูกจ้าง องค์การก็จะได้เพียงบุคลากรที่รับจ้างทำงาน จะไม่ได้จิตวิญญาณในการทำงานหรือความจงรักภักดีต่อองค์การ บุคลากรที่เป็นเพียงลูกจ้างจะสร้างมูลค่าให้กับองค์การได้โดยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการจ้างงาน ในทางกลับกัน ถ้ามองบุคลากรเป็นสินทรัพย์ องค์การก็จะได้บุคลากรเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าประเมินเป็นมูลค่าไม่ได้ ซึ่งจะมีจิตวิญญาณในการทำงานอย่างทุ่มเทและมีความจงรักภักดีต่อองค์การ สามารถสร้างและเพิ่มมูลค่าให้กับองค์การได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น ในการจัดการช่องว่างระหว่างวัยเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในองค์การจึงเป็นประเด็นสำคัญในการทำงานเป็นทีม ความแตกต่างทางด้านความคิดและมุมมอง จะเป็นจุดแข็งแห่งการพัฒนาองค์การ ประเด็นรองลงมาจะต้องสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ปลูกสร้างจิตสำนึกที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความจงรักภักดีต่อองค์การ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อสนับสนุนการทำงาน สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพัฒนา ความรู้ความสามารถของบุคลากร เพื่อเพิ่มคุณภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้องค์การดำเนินการประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

คำสำคัญ: ช่องว่างระหว่างวัย ทรัพยากรมนุษย์ การทำงานเป็นทีม มนุษยสัมพันธ์

 

Abstract

The personnel management models in each organization are different. One issue in personnel management is a generation gap. Many organizations are trying to overcome this generation gap by recruiting almost the same age personnel in order to reduce the gap, which is a top-down solution. For the top-up solution, it depends on visions and points of view of the CEO or executives. In aspect of human resources management, human resources are crucial assets in an organization. On the other hand, if employees are considered as mercenary workers serving for an organization, they can contribute value to organizations, depending on employees for attractive employment. It will be only human contact for work. As a result, the generation gap management of human resources development in an organization is an important key for team working. The different ideas and viewpoints will be a strong strategy to develop organization. The minor important keys are creating morale, motivation, and interpersonal relations at work as well as a great sense of loyalty to organizations by supporting to do a good work environment. Human Resource Development should be a key to improve work quality and efficiency which support organization to achieve all goals.

Keywords: Generation gap, Human Resources, Team Working, Interpersonal Relations

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. ปรับปรุงพิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาวิสัยทัศน์นักบริหาร.

จุฑา เทียนไทย. (2550). การจัดการ: มุมมองนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

ชนาพร พิทยาบูรณ์. (2552). มนุษยสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอะไรในการทำงาน. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดวงดาว สุวรรณคร สาธิตา โสรัสสะ และนงนาถ ห่านวิไล. (2545). เจเนอเรชั่นใหม่สายพันธุ์แท้. กรุงเทพฯ: สำนักพิพม์เนชั่นบุ๊ค.

ดักลาส, เมอริล อี และ ดักลาส, ดอนน่า เอ็น. (2538). บริหารทีมงาน บริหารเวลา. เรียบเรียงโดย พิศมัย สุภัทรานนท์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

รัชฎา อสิสนธิสกุล และอ้อยอุมา รุ่งเรือง. (2548). การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Generation Y เพื่อการประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์. (2547). การบริหารสมัยใหม่เพื่อพัฒนาประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2551). 111 กูรูบริหารจัดการอุตสาหกรรมโลก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์.

Bateman, Thomas S. & Snell, Scott A. (2007). Management: Leading & collaborating in a competitive world. 7th ed. New York: McGraw-Hill.

Tulgan, Bruce. (2009) Not everyone gets a trophy: How to manage generation YSan Francusco: Jossey-Bass.

Wheelen, Thomas L. & Hunger, J. David. (2008). Strategic management and business policy. 11th ed. New Jersey: Pearson Education.