การรับรู้ ทัศนคติ และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ไบโอดีเซลเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงดีเซลสำหรับรถยนต์

Main Article Content

พิรดา กสินาชีวะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ ทัศนคติ และปัจจัยที่ผลมีต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์เพื่อทดแทนน้ำมันดีเซลสำหรับยานยนต์ รวมถึงศึกษาการดำเนินงานทางด้านการตลาด ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคทางการตลาดของผู้ผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ เพื่อนำผลจากการวิจัยไปเสนอแนะกลยุทธ์ทางการตลาดแก่ผู้ผลิตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative) ประกอบกัน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ (2) กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์ประเภทเครื่องยนต์ดีเซลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 870 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) นอกจากนี้ ยังทำการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มผู้บริโภคที่เคยและไม่เคยใช้ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เพื่อให้ได้ข้อมูลผู้บริโภคโดยละเอียด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คำถามในการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย แบบสอบถามสำหรับผู้บริโภค และคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภคที่เคยและไม่เคยใช้ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์มีจุดแข็งในด้านประสบการณ์และศักยภาพในการผลิตและจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป แต่จุดอ่อนคือ ต้นทุนการผลิตสูง ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่ครอบคลุมและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ยังไม่มากเท่าที่ควร อย่างไรก็ดีการสนับสนุนด้านพลังงานทดแทนของภาครัฐและเอกชน ผนวกกับกระแสความสนใจในพลังงานทางเลือกของผู้บริโภคถือเป็นโอกาสทางการตลาด แต่การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับไบโอดีเซลที่คลาดเคลื่อนของผู้บริโภคก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตลาด ส่วนการสำรวจผู้บริโภคพบว่า แม้ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 60 จะรู้จักและรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับไบโอดีเซล แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เคยใช้เป็นเชื้อเพลิง และยังมีผู้บริโภคเกือบร้อยละ 40 ที่ไม่รู้จักไบโอดีเซล โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ไบโอดีเซลคือการมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม กลยุทธ์ที่ผู้วิจัยแนะนำคือ นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยเน้นที่การสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค กำหนดราคาจำหน่ายไบโอดีเซลให้ต่ำกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว พิจารณาเพิ่มจำนวนสถานีบริการที่มีไบโอดีเซลจำหน่ายเพื่อให้สะดวกในการใช้บริการของผู้บริโภค และมีการส่งเสริมการตลาดเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักและมีความรู้เชิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไบโอดีเซลมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ไบโอดีเซล การรับรู้ ทัศนคติ ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ไบโอดีเซล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กล้าณรงค์ ศรีรอต และคณะ. (2546). รายงานการวิจัย การศึกษาสถานภาพวัตถุดิบที่จะนํามาใช้ในอุตสาหกรรม การผลิตไบโอดีเซล. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร ซี เค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ.

กุณฑลี รื่นรมย์. (2549). การวิจัยการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร (2545), พลังงานทดแทน เอทานอล และไบโอดีเซล.

จงโปรด คชภูมิ. (22 สิงหาคม 2550). ผู้จัดการส่วนสิ่งแวดล้อม บริษัท บางจากปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) สัมภาษณ์ จินตนา อุบลวัฒน์. (2548). ไบโอดีเซล: พลังงานชีวภาพแห่งยุค. วารสารพลังงาน. 6.

ธีระชัย วาสนาสมสกุล (2545). ทัศนคติของผู้บริโภคต่อไบโอดีเซลในจังหวัดเชียงใหม่ การค้นคว้าแบบอิสระปริญญา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยวดี ธรรมมา. (16 สิงหาคม 2550), ผู้ชํานาญการ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ กลุ่มธุรกิจน้ํามัน บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) สัมภาษณ์.

พิสมัย เจนวนิชปัญจกุล. (2550) ไบโอดีเซล: พลังงานทางเลือก? สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2550, จาก www.tistr. or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=90&i2=10000

มรกต ลิ้มตระกูล. (2547). ประวัติการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2547,จาก www.eppo.go.th/admin/history/renewable.html#2

รติกร อลงกรณ์โชติกุล. (2549). ไบโอดีเซล (Biodiesel), กลุ่มงานทดสอบเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โครงการ

เคมี กรมวิทยาศาสตร์บริการ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

เรืองวิทย์ สว่างแก้ว (2547). การผลิตไบโอดีเซลจากน้ํามันพืชด้วยปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันในเมทานอล ภาวะเหนือวิกฤตอย่างต่อเนื่องในเครื่องปฏิกรณ์ระดับนําร่อง, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสาขา ภู่จินดา (2548), การวิเคราะห์ SWOT ของการพัฒนาพลังงานทดแทนน้ํามันเชื้อเพลิงในประเทศไทย. วารสาร สิ่งแวดล้อม. 9, 4 (ตุลาคม-ธันวาคม)

ศิริธัญญา ลังคง. (2549). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อไบโอดีเซลในเขตกรุงเทพมหานคร, การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2549). ไบโอดีเซล: พลังงานทางเลือก...ยุคน้ํามันแพง. ใน กระแสทรรศน์, 12, 1896 (24 สิงหาคม).

ส่วนวิชาการ สํานักบริหาร ธนาคารกสิกรไทย (2525), น้ํามันและพลังงานทดแทน, เอกสารวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย4, 1.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย.

Assael, Henry. (1998). Consumer Behavior and The Marketing Action. 6th ed. Cincinnati, Ohio:International Thomson Publishing.

ASG Renaissance. (2004). Biodiesel end-user Survey: Implications for industry growth final report,Retrieved July 16, 2007 from www.biodiesel.org/resources/reportsdatabase/reports/fle/20040202 fte-029.pdf

Belch, George E. And Belch, Michael A. (2007). Advertising and promotion : an integrated marketing

communications perspective. 7th ed. Boston: McGraw-Hill Irwin.

Bockey, D. Z., Situation and Development Potential for the Porduction of Biodiesel - and International Study, Retrieved July 16, 2007 from www.sciencedirect.com.

Boone, Louis E. and Kurtz, David L. (2005). Contemporary Marketing. 11th ed. Mason, Ohio:Thomson South-Western.

Boone, Louis E. and Kurtz, David L. (2006). Principles of Marketing. 12th ed. Mason, Ohio:Thomson South-Western.

Engel, James F., Blackwell, Roger D. and Miniard, Paul W. (1995). Consumer Behavior. 8th ed. Forth Worth, Texus: The Dryden Press.