พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อใหม่เสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา

Main Article Content

เสกสรร สายสีสด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อใหม่เสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของนักศึกษา ศึกษาพฤติกรรมการใช้บทเรียน E-Learning ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อใหม่เสริมการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียน E-Learning ของนักศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ผลการศึกษาพบว่า สถานที่ที่นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดได้แก่ที่บ้าน รองลงมาคือที่หอพักนักศึกษาเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากโน๊ตบุ๊คมากที่สุด รองลงมาเชื่อมต่อจากโทรศัพท์มือถือสำหรับช่วงเวลาที่นักศึกษาออนไลน์มากที่สุดคือเวลา 13.01-16.00 น. รองลงมาคือ 06.00-09.00 น. นักศึกษาออนไลน์ในแต่ละวันอยู่ในช่วง 2-5 ชั่วโมง มากที่สุด รองลงมาออนไลน์ 1-2 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าบริการอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาใช้ไปในแต่ละเดือน อยู่ในช่วง 201-500 บาท มากที่สุด รองลงมาคือ 501-1,000 บาท นักศึกษาชอบใช้บริการของ Facebook มากที่สุด รองลงมาใช้ YouTube นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในด้านการสนทนาพูดคุย และค้นคว้าข้อมูลมากที่สุด รองลงมาคือ การศึกษาความรู้ประกอบการเรียน

พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เคยเข้าใช้บทเรียน E-Learning โดยมีผู้เคยเข้า คิดเป็นร้อยละ 95.5 รองลงมาคือไม่เคย คิดเป็นร้อยละ 4.5 นักศึกษาใช้ E-Learning ด้านทำแบบฝึกหัดมากที่สุด โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 58.6 รองลงมาใช้ทบทวนเนื้อหาวิชาและเตรียม คิดเป็นร้อยละ 58.6 สืบค้นบทเรียนเพิ่มเติม คิดเป็นร้อยละ 27.9 อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 3.6

นอกจากนี้ยังพบว่า นักศึกษาใช้บทเรียน E-Learning ในช่วงหลังเวลาเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ ในระหว่างเวลาเรียน ลักษณะการใช้บทเรียน E-Learning ของนักศึกษานิยมดาวน์โหลดบทเรียนมาก รองลงมาคืออ่านเนื้อหาบทเรียน นักศึกษาคิดว่าบทเรียน E-Learning มีประโยชน์ด้านสามารถอ่านเนื้อหาย้อนหลังได้ รองลงมาคือ ทบทวนบทเรียนที่ผ่าน นักศึกษามีความต้องการให้ปรับปรุงบทเรียน E-Learning ด้านให้มีการติวข้อสอบให้นักศึกษาก่อนสอบมากที่สุด รองลงมาคือสามารถส่งการบ้านย้อนหลังได้

ด้านความพึงพอใจต่อกลุ่ม Facebook บทเรียน พบว่า นักศึกษาพึงพอใจในด้านการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์มากที่สุด ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมาก รองลงมาคือพึงพอใจต่อการนำมาใช้ในการเรียนการสอน ส่วนด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียน E-Learning

พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน E-Learning ทุกข้ออยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีความพึงพอใจต่อการสืบค้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงมากที่สุด รองลงมาคือ สามารถทบทวนเนื้อหาการเรียนได้ตลอดเวลา.

The purposes of research "Behavior And Satisfaction Toward The Use Of New Media To Enhance Student Learning At School Of Communication Arts In Udon Thani RajabhatUniversity are to study  student behavior in new media use, behavior of E-Learning use, student satisfaction toward new media use to supplement learning and student satisfaction toward E-Learning use of Communication Arts students from Udon Thani Rajabhat University.

The results revealed that most of the students used internet at home and dormitory respectively. To connect to the internet, they connected from their notebook and mobile phone at 01.01-04.00 p.m. and 06.00-09.00 a.m. They mostly spent 2-5 hours and 1-2 hours a day for online. They also spent 201-500 Baht and 501-1,000 Baht a month for internet service. They, moreover, liked to play Facebook and Youtube. When they mostly connected to the internet for the sake of conversation and information search. To use internet for study was the second choice.

Most of the students (95.5%) had ever used E-Learning for doing exercises (58.6%), reviewing subject content (58.6%), searching for additional subject content (27.9%) and etc (3.6%). They spent after class period to use E-Learning by means of downloading. They thought that E-Learning has benefits such as reading and reviewing the previous content. They wanted E-Learning to be improved for example: tutorial before examination and submit previous homework. When considering satisfaction toward Facebook, students were satisfied with students-teacher communication and learning and teaching process. Furthermore, student satisfaction toward E-Learning class, its level was high, in particular 24-hour search and reviewing subject content all the time.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล เครื่องนั้นตา. (2552). พฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อการรับข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรกนก วิโรจน์ศรีสกุล. (2546). ศึกษาภาพลักษณ์ การเปิดรับข่าวสารและทัศนคติของประชาชนเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กลุ่มการเรียนรู้รายวิชาบน Facebook. (2556). กลุ่มการเรียนรู้วิชาการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2556, จาก http://www.Facebook.com/drseksun

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2555), สื่อเก่า-สื่อใหม่ ใจเชื่อมร้อย, กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ภาพพิมพ์.

กานตมาน สุทธิลักษณ์. (2546). สภาพ ปัญหา และความต้องการของการเรียนการสอนเสริมออนไลน์ของสมาชิกโครงการจุฬาออนไลน์, ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดริณ จักรพันธุ์ อินทร์อุดม. (2555). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยผ่านสื่อใหม่ : กรณีศึกษาเว็บไซต์ธรรมะทูเดย์ดอทคอม. สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). ความหมายของ E-Learning. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.kroobannok.com/1586.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). ความหมายของ E-Learning. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.

uplus-solution.com/content.php?ct_id=33.

ไทยอีดียูเน็ต. (2556), ประโยชน์ของ E-Learning. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.thaiedunet.

com/ten_content/benefit.html.

ธีรภัทร วรรณฤมล. (2550). ความหมายของสื่อใหม่ New Media. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2556, จาก http://www.oknation.net/blog/ajterapatt/2007/10/25/entry-1).

ธีระยุทธ วิเศษสังข์. (2555). ทฤษฎีการเรียนรู้ คอนสตรัคชั่นนิสซึม (Constructionism). สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://art.skw.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=87:201201-26-08-45-57&catid=30:the-Community&Itemid=30.

นิชาภา อัศทองงาม. (2553). ความพร้อมและความต้องการของโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในอําเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บทเรียน E-Learning สาขาวิชานิเทศศาสตร์. (2556). บทเรียนวิชาการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2556, จาก http://www.karuudon.org:81/E-Learning54/.

ปัทมา นพรัตน์. (2556). E-Learning ทางเลือกใหม่ของการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2556, จาก http://www.E-Learning.dss.go.th/knowledge/files/5649newchoice.htm.

พรณรงค์ พงษ์กลาง. (2550). การเปิดรับความรู้ ประโยชน์ และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเรียนแบบออนไลน์ (E-Learning), ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารศึกษา), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิศุทธาภา ยุวนิช. (2551). การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมด้านความรู้พื้นฐานภาษาไทยสําหรับนักศึกษาชาวต่างชาติที่มาศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาสกร จิตรใคร่ครวญ (2553). เทคโนโลยีของสื่อใหม่และการนําเสนอตัวตนต่อสังคมกับพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์, นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (การประชาสัมพันธ์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งกาญต์ กันทะหงษ์. (2550). อุปสรรคการนํา E-Learning มาใช้ในการเรียนการสอนของคุณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรัญญา ไชยวรรณ. (2554). สื่อใหม่ในสังคมการเมืองไทย กรณีศึกษา เฟสบุ๊ควอยส์ทีวี, ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต(สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย. (2556). ความหมายของสื่อใหม่. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2556, จาก http://th.wikipedia.

สุรเชษฐ พิทยาพิบูลพงศ์. (2546). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเรียนแบบออนไลน์(E-Learning) ของนิสิตนักศึกษาในกรุงเทพมหานคร. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (มปพ.), สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2556, จาก http://www.addkutec3.com/wp-content/uploads/2012/12/สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อการศึกษา.pdf