ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทย

Main Article Content

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสถานการณ์ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทย โดยหมายถึงเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตัวคนเดียว หรือ อาศัยอยู่กับบุตรของบุตร (หลาน) และ/หรือพ่อแม่ เนื่องจากเล็งเห็นว่าผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนมากขึ้นในสังคมสูงวัยของประเทศไทย ทั้งนี้ การศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยโดยเฉพาะถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนยกระดับความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความอยู่ดีมีสุขทางด้านสุขภาพและด้านสังคมในระดับสูง เนื่องจากมีภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระดับดี และมีส่วนร่วมในสังคมในระดับสูง อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจในระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีปัญหาความมั่นคงของแหล่งรายได้ ปัญหาการมีเงินออมต่ำ และปัญหาหนี้สิน ทั้งนี้ ผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทยต้องการการยกระดับความอยู่ดีมีสุขทางด้านเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับรายได้และการออม การสร้างแหล่งรายได้ที่ยั่งยืน และการลดภาวะหนี้สิน

 

This article presents the situation regarding well-being of senior citizens in aging families in Thailand. They are defined as elderly people who live alone or live with grandchildren and/or parents. The number of elderly people in this group is likely to increase over time in Thailand's aging society, therefore the study of well-being of senior citizens in aging families is very crucial for policy formulation and implementation to encourage well-being of senior citizens in Thailand. The findings reveal that senior citizens in aging families in Thailand mostly have high health and social well-being thanks to good physical and mental health and high social participation. However, most of them have low economic well-being due to instability of income sources, low saving and indebtedness. As a result, senior citizens in aging families in Thailand need the improvement of economic well-being for the first priority, especially income and saving promotion, sustainable income source creation and indebtedness relief.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการคลัง. (2553). โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2556, จาก http://www.thaigov.go.th/en/news-ministry/2012-08-15-09-16-10/item/38834-.html.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2540), โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2556, จาก http://www.moe.go.th/main2/project/prob-teach.htm.

ชุติเดช เจียนดอน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, ฉวีวรรณ บุญสุยา และนพพร โหวธีระกุล. (2554), คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อําเภอวังน้ําเขียว จังหวัดนครราชสีมา, วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 229-239.

ทวีชัย เชสูงเนิน และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). ความอยู่ดีมีสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมข้าราชการบําเหน็จบํานาญและผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น, Srinagarind Med Journal, 2011(26),190-194.

บวรพรรณ อัชกุล, พรรณทิพย์ เพชรมาก, พัธนยุทธ์ ศานติยานนท์, ระบบบํานาญ, วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์,วริฏฐา แก้วเกตุ และสุวิมล ฟักทอง. (2551). หลักประกันด้านรายได้สําหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพ:สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), 61 (สิงหาคม 2551).

วิทยา ธรรมเจริญ. (2555), อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2554). ความอยู่ดีมีสุขเชิงเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในประเทศไทย. การประชุมวิชาการของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เรื่อง “นวัตกรรมอุดมศึกษา: กุญแจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”19 กรกฎาคม 2554, กรุงเทพฯ: สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2550). การสํารวจประชากรสูงอายุ พ.ศ. 2550. กรุงเทพ: สํานักงานสถิติแห่งชาติ.

อารดา ธีระเกียรติกําจร. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตําบลสุเทพ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.Veridian E-Journal, Silpakorn University, 2554(4), 1-19.

Antonucci, T.C. and Wong, K.M. (2010). Public Health and the Aging Family. Public Health Review,32(2), 512-531.

Del Campo, R., Del Campo, D. and DeLeon, M. (2000). Caring for Aging Family Members: Implications and Resources for Family Practitioners. The Forum for Family and Consumer, 5(2), 28.

Knodel, J.E., Chayowan, N. and Prachuabmoh, V. (2011). Impact of Population Change on Well-Being of Elderly People in Thailand. In Impact of Demographic Change in Thailand,G. Jones and W. Im-em (ed), UNFPA Thailand, 35-63.

UN (United Nations). (2012). World Population Prospect: The 2010 Revision. Retrieved November 7, 2012, from http://esa.un.org/wpp/unpp/p2kOdata.asp.