การวัดคุณภาพกำไรจากการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด

Main Article Content

กิตติภพ ตันสุวรรณ

บทคัดย่อ

ผลจากการตกแต่งรายงานทางการเงินโดยมุ่งหวังเพื่อสร้างผลกำไรให้มีความโดดเด่น ส่งผลให้องค์กรขนาดใหญ่บางแห่งต้องปิดตัวลง ดังนั้นผู้ที่มีส่วนได้เสียในแต่ละองค์กร จึงควรที่จะแสวงหาเครื่องมือในการสะท้อนข้อเท็จจริง ข้อมูลจากงบกระแสเงินสดถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจในการที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนำมาวิเคราะห์ในรูปแบบของอัตราส่วนเพื่อจะวัดว่ากำไรที่ปรากฏนั้น จะสามารถเปลี่ยนเป็นกระแสเงินสดได้อย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นลักษณะของคุณภาพกำไร ที่ผู้บริหารควรจะต้องให้ความใส่ใจ ดังนั้นจากข้อมูลงบกระแสเงินสดสามารถที่จะนำมาทำการวิเคราะห์อัตราส่วนเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยอัตราส่วนความพอเพียงของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow Adequacy) และ ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Operating Cash Index) น่าจะเป็นอัตราส่วนที่สามารถสะท้อนความหมายของคำว่าคุณภาพกำไรตาม แนวทางของ The Financial Accountings Standard Board (FASB) ได้ใกล้เคียงที่สุด และหากผู้บริหารต้องใส่ใจกับคำว่าคุณภาพกำไร ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารกิจการให้เกิดกำไรอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ และนำเสนอโดยไม่ได้มีการตกแต่งตัวเลขในรายงานแต่อย่างใด

 

Result of creative accounting is intended to make a profit by providing distinctive. Consequently, a large organization may have to shut down. Therefore who are the stakeholders in each organization should be to seek the tools to reflect the fact. The information from the cash flow statement can be considered as interesting in that to used. The cash flow statement can be analyzed by ratio to measure the profit that appears. It can be converted into cash adequate. This is characteristic of the quality of earnings. According to Cash Flow, The data could be rational analyzed in order to the guideline for stakeholder. The Cash Flow Adequacy and the Operating Cash Index could closely reflect the meaning of profit quality of The Financial Accountings Standard Board. If, executives have to maintain continual profit ; they could be carefully aware of profit quality and do not submit the creative accounting.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤมล สอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2552). เอ็นรอนแห่งอินเดีย “สัตยัมฯ” ย้ํารอยเมดอฟฟ์ ตกแต่งบัญชีสร้างตัวเลขลวงนักลงทุนเกินจริง. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2554, จาก http://www.prachachat.net

ภาพร เอกอรรถพร. (2549), แกะเงื่อนงบการเงิน, กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2554). บัญชีเพื่อการจัดการสําหรับผู้ที่ไม่ใช่นักบัญชี, กรุงเทพฯ: วิรัตน์ เอ็ดดูเคชัน.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2543). คุณรู้จัก Creative Accounting และ คุณภาพกําไรแล้วหรือยัง?. กรุงเทพฯ: ไอโอนิคอินเตอร์เทรด รีซอสเซส.

ศศิวิมล มีอําพล. (2546). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: อินโฟไมนิ่ง.

อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์. (2551). การวิเคราะห์งบการเงิน กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกําไรกับเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(3), 48-66.

Richardson, S.A. (2003). Earning Quality and Short Sellers. Accounting Horizons, 17(Supplement),49-61.

Robinson, Thomas R.; Munter, Paul, and Grant, Julia. (2004). Financial Statement Analysis: A Global Perspective. NJ: Pearson.

Sloan R.G. (1996). Do Stock Prices fully Reflect Information in Accruals and Cash Flows About Future Earnings?. The Accounting Review. 71(3), 289-315.