การจัดคอนโดมิเนียมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพุทธบูรณาการ

Main Article Content

ชมกร เศรษฐบุตร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่อง การจัดคอนโดมิเนียมผู้สูงอายุที่เสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพุทธบูรณาการ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธบูรณาการ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนามโดยการทำแบบสอบถาม สัมภาษณ์ผู้สูงอายุ 32 คน สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน จากการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุต้องการที่อยู่อาศัยที่สมวัย เป็นธรรมชาติ มีผู้ดูแล มีบริการด้านสุขภาพ เพื่อความเจริญด้านอริยทรัพย์ ชีวิต ความดี หลักการเพื่อการจัดคอนโดมิเนียมผู้สูงอายุที่เสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพุทธบูรณาการเป็นองค์รวมของคนและสถานที่ในสังคมสูงวัย เป็นการบูรณาการหลักการออกแบบที่อยู่อาศัย การเสริมสร้างสุขภาวะ เข้ากับหลักธรรมสัปปายะ 7 เกิดเป็นหลักการ “MCS: Minimalist of living with Care for well-being promotion to Spirit of silence” ที่หมายถึง ความเรียบง่ายของสถานที่ ด้วยความเป็นธรรมชาติที่ทำให้เกิดสติและจิตตั้งมั่น ออกแบบเรียบง่ายเพื่อความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ทั้งมีการเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ที่ตระหนักรู้ในศีล ความคิด ปัญญา เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุด้วยการป้องกันโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งผลให้ผู้สูงอายุมุ่งสู่ใจสงบ ด้วยกัลยาณมิตรธรรม ดูแลสุขภาวะตนเองด้วยการกินอาหารเป็นยา ออกกำลังกายพร้อมออกกำลังสมองด้วยสติ ทำดี ละชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amphaphon, S. (2013). Management Service for The Elderly Asean Community : A Case Study of Sawangkanives Building, The Thai Red Cross Society, Mueang District, Samutprakan Province. Master Degree Thesis, Burapa University. [in Thai]

Arjariyanond, W. (2016). The Models of the Happy Livelihood According to the Buddha’s Dhamma Principles for the Elders. Doctor Degree Dissertation, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. [in Thai]

Chamlongsuparat, S. (2017, October 10). Interview. Manager. Loxley PCL. [in Thai]

Jongsathitman, C., Sindhunava, P. & Sirisamphan, N. (2010). An Evaluation of Governmental Homes for the Aged : Case Studies of the Three Homes for the Aged. Research Report supported by Health Systems Research Institute (HSRI). [in Thai]

Kesorn, J. (2017, August 16). Interview. Director. LPN Development PCL. [in Thai]

Lohwachirawat, S. (2015). A Study of Marketing Mix in Senior Housing Communities: Case Studies of Busayaniwessa Project and Sawangkanives Project. Master Degree Thesis, Thammasat University. [in Thai]

Mahachulalongkornrajavidyalaya. (1996). Thai Tipitaka of Mahachulalongkornrajavidyalaya. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Press. [in Thai]

Mutugun, P. (2012). Auspicious Life (7th ed.). Bangkok: Sangsanbooks. [in Thai]

Pechmisi, P. (2015). Meaning of Home in Bang Khae a Case of Bangkhae Home Foundation. Master Degree Thesis, Bangkok University. [in Thai]

Prasartkul, P. (2016). Situation of The Thai Elderly 2015. Bangkok: Amarin Printing & Publishing. [in Thai]

Resident over 3 years. (2017, July 4). Interview. Sawangkanives Thai Red Cross. [in Thai]

Resident over 5 years. (2017, July 14). Interview. Sawangkanives Thai Red Cross. [in Thai]

Resident over 5 years. (2017, July 3). Interview. Sawangkanives Thai Red Cross. [in Thai]

Samkhuntod, O. (2018). Guidelines in Managing the Suitable Environment for Dhamma Practice. Doctor Degree Dissertation, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. [in Thai]

Sompong, S. & Rojlert, N. (2014). Happiness of the Elderlies in Nursing Homes, Nakhon Pathom Province. Journal of the Police Nurses, 6(1), 204-218. [in Thai]

Social Statistics Offce. (2014). Report of the survey of elderly in Thailand B.E.2557. Bangkok: Bureau of Statistics, National Statistical Offce. [in Thai]

Sudsuk, U. (2004). Public Health in Tipitika : Integration for Good Health and Happy Life. Bangkok: Thepprathan Printing. [in Thai]