การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบความคาดหวังในบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในฐานะพันธมิตรธุรกิจของผู้บริหารระดับต้นใน 5 ธุรกิจในบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ฉัตรปวีณ์ ฉัฐเมธาสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามความคาดหวังของผู้บริหารระดับต้นใน 5 ธุรกิจในบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามความคาดหวังของผู้บริหารระดับต้นใน 5 ธุรกิจในบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารระดับต้นใน 5 ธุรกิจในบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 255 คนได้แก่ ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 56 คน ธุรกิจออนไลน์ 73 คน ธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก 47 คน ธุรกิจดิจิตอลคอมเมิร์ซ 33 คน และธุรกิจดิจิตอลคอนเท้นท์ 46 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการเปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มใช้การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารระดับต้นที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ในขณะที่ผู้บริหารระดับต้นที่ประเภทธุรกิจแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันดังนี้ 1) ธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก และธุรกิจดิจิตอลคอนเท้นท์มีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับมากที่สุด ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจดิจิตอลคอมเมิร์ซมีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระดับมาก 2) ผู้บริหารระดับต้นที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้บริหารระดับต้นที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้บริหารระดับต้นที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 6-10 ปีมีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์มากกว่าผู้บริหารระดับต้นที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 5 ปี ผู้บริหารระดับต้นที่ประเภทธุรกิจแตกต่างกันมีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้บริหารระดับต้นในธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก และธุรกิจดิจิตอลคอนเท้นท์ มีความคาดหวังต่อบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์มากกว่าผู้บริหารระดับต้นในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจดิจิตอลคอมเมิร์ซ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ดําดัด. (2549). บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ในมุมมองของผู้บริหารระดับสูงและในมุมมองของผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในบรรษัทข้ามชาติ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง บริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น บริษัทข้ามชาติสหรัฐอเมริกา และบริษัทข้ามชาติสวิตเซอร์แลนด์, ปริญญานิพนธ์,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดนัย เทียนพุฒ. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทดี เอ็น ที่ คอนซัลแตนท์.

ดนัย เทียนพุฒ. (2546). ธุรกิจของ HR BRE: Business to Employee, กรุงเทพฯ: บริษัทดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์.

วิมรินทร์ จักษุจินดา และวิไล สุขศรีวงษ์. (2548). การสํารวจบทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่, ปริญญานิพนธ์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิภาดา รัตนวราภรณ์. (2555). ปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์บทบาทใหม่ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทํางาน ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Deloitte. (2005). Choosing Measurement methods. Strategic HR Review. 4(2).

Ulrich, D. (1997). Human Resource Champion: The Next Agenda for Adding Value and Delivering results. Boston: Havard Business Review Press.

Ulrich, D., Brockbank, W., Johnson, D., Sandholtz, K., & Younger, J., (2008). HR Competencies: Mastery at the Intersection of People and Business. Havard Business Review Press.

Ulrich, D., Younger. J., Brockbank, W.., and Ulrich, M. (2012). HR from the Outside In: Six Competencies for the Future of Human resources. Havard Business Review Press.