ปลี่ยนมุมมองใหม่เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

Main Article Content

ศิตา เยี่ยมขันติถาวร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

หลายต่อหลายครั้งที่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับการพูดภาษาอังกฤษของคนไทย บทความเหล่านั้น มักชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของการพูดภาษาอังกฤษ ทั้งในเรื่องคำศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียง ในขณะเดียวกันกลับชื่นชมประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ว่าเก่ง จนเกิดความคิดว่า แทนที่จะเป็นแรงบันดาลใจ อาจจะเป็นการซ้ำเติมให้ท้อถอยหมดกำลังใจก็เป็นได้ บทความนี้จึงมุ่งเน้นถึงการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของคนไทย พร้อมทั้งยกตัวอย่างคนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเพื่อเป็นแบบอย่าง  ที่ดีในการใช้ภาษา และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อแข่งขันต่อสู้กับชาติอื่น เพื่อพิสูจน์ว่าภาษาอังกฤษของคนไทย ก็ไม่ได้แพ้ชาติใดเช่นกัน รวมถึงยังมุ่งชี้ให้เห็นว่า แต่ละประเทศต่างมีภาษาอังกฤษที่เป็นเอกลักษณ์ของตน  ที่เราเรียกว่า “ความหลากหลายของภาษาอังกฤษ” ภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์เป็นตัวอย่างของภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพราะภายในประเทศมีการใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นแบบฉบับของตน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากภาษาพูดที่ไม่ได้มาตรฐานแต่สามารถสื่อสารได้ ประเทศไทยเราก็มีแบบฉบับภาษาอังกฤษในรูปแบบไทยเช่นกัน แต่กลับกลายเป็นตัวกั้นขวางทำให้คนไทยไม่กล้าที่จะพูดออกไป ดังนั้นเราจึงควรให้กำลังใจคนไทย  ให้กล้าที่จะพูดและมุ่งเน้นในเรื่องทักษะทางการสื่อสารเท่านั้น

 

 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

การสํานักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.) การจัดการแข่งขัน กล่าวสุนทรพจน์เป็นภาษาอังกฤษในที่ชุมชนระดับชาติ. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2557, จาก http://www.bic.moe.go.th/ newth/index.php/2013-10-13-20-07-23/public-speakinglic speaking

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2556, กรกฎาคม 2), เปลี่ยนการสอนภาษาอังกฤษเตรียมคนไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เดลินิวส์ ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์. (2551, สิงหาคม 31), ภาษาอังกฤษกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผู้จัดการ.

เมธา สกาวรัตน์. (2013) หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2557 จาก http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view= article&id=202311&catid=176&Itemid=524

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2556, กันยายน 11), บันทึกอาเซียน : “สุรินทร์” ซีรัฐฯต้องเร่งปฏิรูปการศึกษาก่อนสายเกินกู้กลับ.

เดลินิวส์ ศิตา เยี่ยมขันติถาวร. (2555), หน่วยที่ 1 หลักภาษาอังกฤษ ชุดวิชา 22762 สารัตถะและวิทยวิธีทางภาษาอังกฤษ นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิตา เยียมขันติถาวร. (2555). หน่วยที่ 3 ภาษาและวัฒนธรรม ชุดวิชา 22762 สารัตถะและวิทยวิธีทางภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Funders and Founders, 2013. World's top languages 2013. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2557, จาก http://hectorlima.com/2013/05/13/worlds-top-languages-as-of-may-2013