ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในวิทยาลัยราชพฤกษ์

Main Article Content

อัมพร ปัญญา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ในวิทยาลัยราชพฤกษ์ ในด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญส่วนบุคคล การมีแบบแผนความคิด การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมและการคิดอย่างเป็นระบบ และเพื่อศึกษาลักษณะของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านนโยบายและทิศทางองค์กร ด้านผู้นำในองค์กร ด้านลักษณะองค์กร ด้านเครือข่ายการเรียนรู้ขององค์กร ด้านการเรียนรู้ในองค์กรและด้านระบบการดำเนินการในองค์กรของวิทยาลัยราชพฤกษ์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ในวิทยาลัยราชพฤกษ์ กับปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในวิทยาลัยราชพฤกษ์ ทั้ง 6 ด้านดังกล่าว และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านนโยบายและทิศทางองค์กร ด้านผู้นำในองค์กร ด้านลักษณะองค์กร ด้านเครือข่ายการเรียนรู้ขององค์กร ด้านการเรียนรู้ในองค์กรและด้านระบบการดำเนินการในองค์กรของวิทยาลัยราชพฤกษ์ ที่อธิบายความแปรปรวนของลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ในวิทยาลัยราชพฤกษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทบวงมหาวิทยาลัย. (2540), การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ผู้แต่ง ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2544), ราชการยุคใหม่, กรุงเทพมหานคร : สามิตสาร.

ธงชัย สันติวงษ์. (2539), วิสัยทัศน์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ปี 2010. วารสารการบริหารคน. 17(3), 41-48.

บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2539), ปฏิรูปราชการเพื่ออนาคต : ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา, กรุงเทพมหานคร : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิพัฒน์ ก้องกิจกุล. (2548). ทุนมนุษย์, กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์, อาชัญญา รัตนอุบล, ศิริชัย กาญจนวาสี, สุวิมล ว่องวาณิช และวชิราพร อัจฉริยโกศล. (2550).สัตตศิลา : หลัก 7 ประการสําหรับการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ กรุงเทพมหานคร สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลี ธรรมศิริ. (2543). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้โดยผ่านหน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในฐานะส่วนขยายของการอุดมศึกษา วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2546). สู่การสร้างสรรค์สูงส่งเต็มศักยภาพ : การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยไทย. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2553, จาก http://kmi.trf.or.th/Document/Experience/km university

วิทยาลัยราชพฤกษ์. (2555). คู่มือนักศึกษาปีการศึกษา 2555. กรุงเทพ : โรงพิมพ์จรัลสนิทวงศ์.

อัมพร ปัญญา. (2553). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญา

ดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์), มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Bierema, L. L., & Berdish, D. M. (1999). Creating a learning organization: A case study of outcomes and lesion learned. Performance Improvement, 38(4), 36-41.