ตราสารอนุพันธ์: การบริหารความเสี่ยงในธุรกิจส่งออกและนำเข้าสินค้า

Main Article Content

ชาญณรงค์ ชัยพัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการทำให้ค่าของเงินบาท   มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามกลไกของตลาด กรณีที่เงินบาทมีค่าอ่อนลงผู้ส่งออกสินค้าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่ผู้นำเข้าสินค้าจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ส่วนกรณีที่เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นผู้ส่งออกสินค้าจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่ผู้นำเข้าสินค้าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ จะเห็นได้ว่าเมื่อเงินบาทมีค่าอ่อนลงหรือแข็งค่าขึ้นจะต้องมีฝ่ายหนึ่งได้เปรียบและอีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า

ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยการทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ลักษณะของสัญญาจะแตกต่างกันไปตามที่คู่สัญญาจะตกลงกัน จึงทำให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้ารับรู้รายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศในจำนวนที่แน่นนอน เมื่อถึงวันที่มีการส่งมอบสินค้าผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้าไม่ต้องกังวลว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จะทำให้ตนเองขาดทุนหรือกำไรมากขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ เพราะได้จองซื้ออัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้าแล้ว

 

Abstract

When Thailand switched to employ the floating exchange rate regime, it allowed the value of Thai baht currency to fluctuate in accordance with the foreign exchange market. When the prices of Thai baht currency become weaker, exporters will be at disadvantage while importers gain advantages. This means that the Thai baht depreciation and appreciation has an effect on both importers and exporters. There will be one side to lose and the other to gain profits. Therefore, it is very crucial to conduct currency exchange risk management by making a contract of sale.

Derivation is a financial instrument for managing the currency exchange risk by the use of doing a contract of sale of foreign currencies in advance. Features of the contract of sale can be varied according to an agreement between the parties. It will allow exporters and importers to be aware of the exact amount of incomes and expenses in foreign currencies. This will eliminate worry about fluctuation in exchange rate on the delivery date because a rate for settlement has already been secured.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธนาคารกสิกรไทย. (2556), อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://

www.kasikornbank.com/TH/RatesAndFees/ForeignExchange.

ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล. (2549), ตลาดอนุพันธ์, กรุงเทพฯ: บริษัทเพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จํากัด.

พรชัย ชุนหจินดา. (2553). การบริหารการเงินระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง จํากัด.

ภัทรกิตติ์ เนตินิยม. (2550). การเงินระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัทยูเนียนอุลตร้าไวโอเล็ต จํากัด.

วิศรุต ศรีบุญนาค พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย และณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์. (2554). ตราสารอนุพันธ์: การวัดมูลค่าการรับรู้ และการบัญชีป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). การวิเคราะห์ตราสารอนุพันธ์, กรุงเทพฯ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). การลงทุนในตราสารอนุพันธ์, กรุงเทพฯ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).

อาณัติ ลีมัคเดช. (2551). หลักการลงทุนและป้องกันความเสี่ยงด้วยตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).

Daniels, J. P. & David, D. V. (2005). International Monetary and Financial Economics. 3rd edition.Australia: Thomson, South-Western.

World Bank. (2013). World Data Bank. Retrieved March 1, 2013, from http://data.worldbank.org.