การเปิดรับความคิดเห็น และการใช้ประโยชน์จากรายการ ข่าวภาคดึก ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นลพรรณ อาบทิพย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับความคิดเห็น และการใช้ประโยชน์จากการชมรายการข่าวภาคดึก ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้รูปแบบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาผู้ที่เคยรับชมรายการข่าวภาคดึก จำนวน 400 คนทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขนั้ ตอน ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าหญิง มีอายุระหว่าง 40–49 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพแม่บ้าน พ่อบ้าน และมีรายได้โดยเฉลี่ยระหว่าง 25,001–30,000 บาท รับชมรายการข่าวสามมิติมากที่สุด รับชมข่าวภาคดึกทุกครั้งที่ออกอากาศ และตั้งใจชมไม่เปลี่ยนช่อง ในด้านความคิดเห็นผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นด้วยต่อคุณค่าของข่าวภาคดึก และใช้ประโยชน์จากการชมข่าวภาคดึกในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศอายุ ระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นต่อคุณค่าข่าว และใช้ประโยชน์จากการรับชมรายการข่าวภาคดึกแตกต่างกัน ส่วนอาชีพ และรายได้ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อคุณค่าข่าว และการใช้ประโยชน์จากการรับชมรายการข่าวภาคดึกไม่แตกต่างกัน ความบ่อยครั้งในการรับชมรายการข่าวภาคดึก มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากการรับชมรายการข่าวภาคดึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstract
          The objective of this research is to study the feedback and utilization of watching late night news program.: To study opinion of the people residing in Bangkok on the news values of the Late Night News Report.This is quantitative research with survey research. From four hundred samples were selected by multi-stage sampling technique. Self administered questionnaires were used to collect data. Findings : Respondents are male than female, aged between 40-49 years, earned Bachelor’s degree and 25,001 - 30,000 Baht monthly income. The majority of respondents
were exposed to the Sam MiTi Night News Report at the most, and attentively watched the program without changing the channel. Respondents highly accepted that there was news value in the Late Night News Report. Respondents highly received benefits from viewing Late Night News Report. Respondents with differences in gender, age, and educational level were significantly different in obtaining benefits from Late Night News Report. Differences in respondents career and

income earning indicated no differences in the benefits obtained from the Late Night News Report. Respondents with differences in gender, age and educational level, perceived differently the news values of Late Night News Report at P=0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาลัญ วรพิทยุต. (2550). โทรทัศน์กับอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2556, จาก http://news.sanook. com/scoop/scoop_100982.php.

กิติมา สุรสนธิ. (2544). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เขมวไล ธีรสุวรรณจักร. (2547). มายาคติเรื่องอํานาจที่ปรากฏในข่าวโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาภรณ์ อัจฉริยะกุล, จิราภรณ์ สุวรรณวาจกกสิกิจ และธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ, (2547). การใช้วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุและโทรทัศน์ (หน่วยที่ 9-15). นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นันทิดา โอฐกรรม. (2547). การเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจรายการข่าวภาคเช้าทางโทรทัศน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมะ สตะเวทิน. (2539).การสื่อสารมวลชน:กระบวนการและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรเมษฐ์ เศรษฐสุวรรณ. (2551). เจตคติของผู้ชมรายการโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการนําเสนอรายการข่าวภาคคํ่า ทางสถานีโทรทัศน์ทั้ง 5 ช่อง (3, 5, 7, 9 และไอทีวี). ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป), มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พัชนี เชยจรรยา. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทสื่อมวลชนและพฤติกรรมการใช้สื่อของประชาชนในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรินทร์ เศวตสุทธิพันธ์. (2537). การสํารวจทัศนคติและพฤติกรรมการรับชมรายการข่าวโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพชร เพ็ชรสวัสดิ์. (2548). พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการข่าวภาคดึกทางสถานีโทรทัศน์ ทั้ง 5 ช่อง (3,5,7,9 และ ไอทีวี). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ที.พี.พริ้นท์.วิยดา เกียวกุล. (2538). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเปิดรับข่าวรายการโทรทัศน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). การประชาสัมพันธ์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีศรินทร์ อาภากุล. (2543).การเปิดรับสาร การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจรายการ “ถอดรหัส” ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิวิมล ขันแข็ง. (2550). การเปิดรับความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์รายการ “คนค้นคน” ของผู้ชมรายการในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริพร วุฒิทวี. (2542). การสํารวจพฤติกรรมการรับชมและความพึงพอใจของผู้ชมในกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการข่าวภาคคํ่า ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรัตน์ ตรีสกุล. (2548). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2547). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น: สื่อสารมวลชน วัฒนธรรมและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.DeFleur, M. & Dennis, E. (2002). Understanding Mass Communication. Boston: Houghto Mifflin.

Katz. E, Blumler, J.G. & Gurevitch, M. (1974). Utilization of Mass Communication by the Individual. In J.G. Blumler and E. Katz (Eds.), The Use of Mass Communications: Current Perspectives on Gratifications Research. CA: Sage Publications.

Robinson, P.J. (1972). Mass Communication and Information Infusion in Kline and Tichemor, Current Perspective in Mass Communication Research, London: Sage Publications.