การออกแบบสัญญาณไฟจราจรแบบมิเตอร์ริงที่วงเวียน: กรณีศึกษาวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

Main Article Content

นิวัฒน์ สุรโชติเกรียงไกร
อำพล การุณสุนทวงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการออกแบบสัญญาณไฟจราจรแบบมิเตอร์ริงที่วงเวียนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้กับวงเวียนเดิมที่มีปริมาณการจราจรสูงและมีรูปแบบการไหลที่ไม่สมดุล ทำให้ไม่สามารถควบคุมด้วยหลักการให้ทางของวงเวียนได้ งานวิจัยนี้ได้เลือกวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ปัจจุบันได้ใช้ระบบสัญญาณไฟจราจร เป็นกรณีศึกษา ด้วยการติดตั้งสัญญาณไฟในเส้นทางเข้าสู่วงเวียนทิศทางหลัก และติดตั้งขดลวดตรวจจับ (Loop Detector) ใต้ผิวจราจรในเส้นทางเข้าสู่วงเวียนในทิศทางรองโดยจะทำงานเมื่อแถวคอยของรถในทิศทางรองยาวถึงระยะที่ได้ติดตั้งขดลวดตรวจจับ (Loop Detector) ทั้งนี้ เพื่อสร้างช่องว่างในกระแสจราจรในวงเวียนให้รถในเส้นทางรองสามารถเข้าสู่วงเวียนได้ จากนั้นทำการทดสอบด้วยโปรแกรมแบบจำลองการจราจร TSIS-CORSIM  ที่ระยะต่างๆ ของการติดตั้งขดลวดตรวจจับ เพื่อหาระยะที่ให้ค่าประสิทธิภาพการจราจรดีที่สุด (ค่าความเร็วเฉลี่ย, ค่าความล่าช้ารวม และ ค่าการเคลื่อนตัว) ทั้งในเวลาเร่งด่วนและนอกเวลาเร่งด่วน โดยพบว่า ที่ระยะการติดตั้งขดลวดตรวจจับ (Loop Detector) 120 ฟุต (36.58 เมตร) นั้น ให้ค่าประสิทธิภาพดีที่สุด วงเวียนที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจรแบบมิเตอร์ริงที่ระยะการติดตั้งขดลวดตรวจจับที่ให้ค่าประสิทธิภาพดีที่สุดนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับวงเวียนที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร พบว่า มีความล่าช้ารวมน้อยกว่า, ความเร็วเฉลี่ยมีค่าต่ำกว่าโดยการเคลื่อนที่โดยรวมของรถมีค่าสูงกว่า ผลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า สัญญาณไฟจราจรแบบมิเตอร์ริงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพให้กับวงเวียนที่มีปริมาณรถจำนวนมากและมีรูปแบบการไหลที่ไม่สมดุลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akcelik, R. (2004). Roundabout With Unbalance Flow Patterns. The Institute of Transportation Engineers 2004 Annual Meeting, 1-4 August 2004 Lake Buena Vista Florida. USA.

Akcelik, R. (2005). Capacity And Performance Analysis Of Roundabout Metering Signals.TRB National Roundabout Conference, 22-25 May 2005 Vail Colorado. USA.

Akcelik, R. (2011). Roundabout metering signals: capacity, performance and timing. 6th International Symposium on Highway Capacity And Quality Of Service. Transportation Research Board, 28 June to 1 July 2011 Stockholm. Sweden.

Elias, A. (2009). Roundabout Modeling In Corsim. The Master Of Engineering, Faculty Of Civil Engineering. University Of Florida. USA.

Irvena, J. & Randahl, S. (2010). Analysis of gap acceptance in a saturated two-lane roundabout and implementation of critical gaps in VISSIM. Thesis of Traffic and Roads Department of Technology and Society, Faculty of Engineering. Lund University, Sweden.

Natalozio, E. (2005). Roundabouts with Metering Signals.The Institute of Transportation Engineers 2005 Annual Meeting, 7-10 August 2005 Melbourne. Australia.

TRB. (2000). Highway Capacity Manual 2000. Washington D.C., USA: The Transportation Research Board.