แบบจำลองการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

บุษกร คำโฮม
ศุภกัญญา จันทรุกขา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องแบบจำลองการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้กำหนดวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดกิจกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงและระดับการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาของคณะบริหารศาสตร์ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองสมการโครงสร้างของการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 275 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2557 ภาคต้น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) และรวบรวมข้อมูลจากแต่ละชั้นภูมิด้วยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง

          ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมระดับมาก แบบจำลองสมการโครงสร้างการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 193.87 ที่องศาอิสระเท่ากับ 101 และค่าความน่าจะเป็น (p - values) เท่ากับ 0.00 ค่าไค-สแคว์สัมพัทธ์ (χ2 /df) เท่ากับ 1.92 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.06

          นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาตัวแปรที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ พบว่า กิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยค่าขนาดอิทธิพล 0.393 ส่วนความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไม่มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

          The objectives of this research were 1) to study the level of sufficiency economy activities and the level of sufficiency economy philosophy application of the students 2) to investigate model consistent with the empirical data of the structural equation model of sufficiency economy philosophy application of the students of the faculty of management science, Ubonratchatani University. The research sample consisted of 275 undergraduate students of the faculty of management science, Ubonratchatani University who enrolled in the first semester of the academic year 2557. Stratified sampling and simple random sampling technique was used to arrive the samples. A questionnaire was administered to collect data, which were analyzed by quantitative analysis methods. The statistics used in data analysis was based on the commutative frequency for percentage, mean, standard deviation and structural equation model analysis.

          The result showed that the students have applied the sufficiency economy philosophy overall in high level. The structural equation model of sufficiency economy philosophy application of the students of the faculty of management science, Ubonratchatani University was consistent with the empirical data, goodness of fit measures were found to be: Chi-square = 193.87, df = 101, p- value = 0.00, Relative Chi-square(χ 2 /df) = 1.92, CFI = 0.94, RMSEA = 0.06.

          Moreover, considering the variables that affect sufficiency economy philosophy application of the students of the faculty of management science, it was also found that the sufficiency economy activities significantly positive influence the application of sufficiency economy (β = 0.393). Besides, the knowledge of sufficiency economy did not significantly influence the application of sufficiency economy.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร ชํานาญกิตติชัย, ฐิติมา ประภากรเกียรติ, อเนก แสงโนรี และจิรเดช สมิทธิพรพรรณ. (2554). การนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557, จาก http://www.ranong2.dusit.ac.th/web/images/stories/Pictures/News/Trainning/22.7.55/01.pdf

กานดา เต๊ะขันหมาก. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน ศึกษากรณีจังหวัดลพบุรี, วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2555). แบบจําลองการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนในชุมชนชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

จรวยพร ธรณินทร์. (2550). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557, จาก http://www.moe.go.th/charuaypon/works/ppt_charuaypon_105.ppt

จิรประภา อัครบวร และคณะ (2552). การจัดการความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 1), กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนา ระบบราชการ.

เดลินิวส์. (2557). “ปัจจัยใด? สร้างหนี้ “จําเป็น-ติดหรู” แบบไหนกู้เถื่อนก็ยิ้ม” สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557,จาก http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=241024

ไทยโพสต์. (2557). “หนี้ครัวเรือน” ปัญหาประชาชน วิกฤติประเทศ. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557, จาก http://www.thaipost.net/news/050813/77381

น้ําฝน ผ่องสุวรรณ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จของการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดสมุทรสงคราม, วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ผู้จัดการรายวัน. (2557). ผลสํารวจชี้ คนกรุงฯ เพื่อเป็นตัว. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557, จาก http://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?NewsID=9570000031461

พรภัทร อินทรวรพัฒน์, สิรีรัตน์ เชษฐสุมน และผ่องพรรณ ตรัยมงคลกุล. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการก่อหนี้สินของนักศึกษาปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร, วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 35(1),1-15.

วิเชียร วิทยอุดม และเขมมารี รักษ์ชูชีพ. (2553). ทัศนะของนักศึกษาต่อการนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การแก้ปัญหาความฟุ่มเฟือย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปลในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 1), กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา.

สถาบันไทยพัฒน์. (2557). รู้จักเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557, จาก http://www.sufficiencyeconomy.com/2006/01/blog-post.html

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภาณุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สลิน สุวรรณวงค์. (2552). ความรู้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2557, จาก http://www.rictib.nrct.go.th/bookdetail.php?type=1&book id=247352

สิน พันธุ์พินิจ. (2549). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

หทัยรัตน์ อยู่รอด. (2550). ทัศนะของพนักงานต่อการนําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดําเนินชีวิต กรณีศึกษา: บริษัท โจนส์ ลาซาลล์ [ประเทศไทย] จํากัด. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Translated Thai References

Angsuchot, S., Wijitwanna, S. & Pinyopanoowat, R. (2009). Statistical Analysis for Research in The Social Sciences and Behavioral Sciences: LISREL Technique. (2nd ed.). Bangkok: Charoen dee munkong press. [in Thai]

Chamnankitchai, K., Prapakornkeart, T., Sangnoree A. & Smittipornpan, J. (2001). Philosophy of Sufficiency Economy Applying in Daily Life for Suan Dusit Rajabhat University Student. Bangkok: Suan Dusit Rajabhat University. Retrieved August 5, 2013, from http://www.ranong2.dusit.ac.th/web/images/stories/Pictures/News/Trainning/22.7.55/01.pdf [in Thai]

Daily News. (2014). What are Factor to Increase Debt?. Retrieved August 5, 2014, from http://m.dailynews.co.th/Article.do?contentId=241024 [in Thai]

Daily News-Manager Online. (2014). The Poll Point Out Peoples Spending Money in an Extravagant and Wasteful Way. Retrieved August 5, 2013, from http://www.manager.co.th/daily/ viewnews.aspx?NewsID=9570000031461 [in Thai]

Donkwa, K. (2012). The Model of a sufficiency Economy Philosophy with Socioeconomics of Rural Community's Households Northeastern Thailand. Nakonratchasima: Suranaree University of Technology. Retrieved August 5, 2013, from http://tdc.thailis.or.th/tdc/search result.php [in Thai]

Intaravorraphat, P., Chetsumon, S. & Traimongkolkul, P. (2014). Causal Factors Influencing Indebtedness of Undergraduate Students in Bangkok. Kasetsart Journal, 35(1), 1-15. [in Thai]

Jiraprapa, A. et al. (2009). Knowledge Management. (1st ed.). Bangkok: Development Board Bureaucracy. [in Thai]

Panpinij, S. (2005). Social Science Research Technique. (1 ed.). Bangkok: Wittayapat. [in Thai]

Pongsuwan, N. (2010). Factors Affecting the Success of the Application of The Philosophy of Sufficiency Economy in Samut Songkram Province. Thesis, Master of Economics, Ramkhamhaeng University, Bangkok. [in Thai]

Prasitrattasin, S. (2003). Research Methodology in Social Science. (12th ed.). Bangkok: Samlada Limited Partnership. [in Thai]

Suwannawong, S. (2009). Knowledge of The Sufficiency of Farmers in Chiang Mai. Retrieved August 5, 2013, from http://www.riclib.nrct.go.th/bookdetail.php?type=1&book_id=247352 [in Thai]

Tekhanmag, K. (2009). Factors Related to Behavior of Leading Life in line with The Philosophy of Sufficiency Economy by Household: a Case Study of Lopbury Province. Thesis, Master of Arts (Social Development) School of Social and Environmental Development NIDA, Bangkok. [in Thai]

Thaipat Institute. (2013). Understand Sufficiency Economy. Retrieved August 5, 2013, from http://www.sufficiency economy.com/2006/01/blog-post.html [in Thai]

Thaipost. (2014). "Household Debt” Peoples Problem and Countries Crisis. Retrieved August 5,2013, from http://www.thaipost.net/news/050813/77381 [in Thai]

Tirakanan, S. (2007). Development of Variables Measurement in Social Science Research: Approaches to Practice (1st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Trranin, C. (2008). The Sufficiency Economy to Education. Retrieved August 5, 2014, from http:// www.moe.go.th/charuaypon/works/ppt_charuaypon_105.ppt [in Thai]

Vitaya-udom, W. & Rugchoochip, K. (2010). Perception of Students toward applying the Sufficiency Economy Philosophy to Alleviate the Lavish Habit: A Case Study of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi's Students. Retrieved August 5, 2013,from http://tdc.thailis.or.th/tdc [in Thai]

Yoorod, H. (2007). Attitude of The Company Employees toward The Application of Philosophy of Sufficiency Economy in Daily Life: The Case Study of Jones Langlasells (Thailand). Thesis, The master of arts (Social Development) School of Social and Environmental Development NIDA, Bangkok. [in Thai]