การพัฒนาการเรียนรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพของนักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์
ภัทร์ พลอยแหวน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ เพื่อศึกษากรอบการอ้างอิงทางความคิด (Frame of Reference) ด้านจริยธรรมการวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพ และเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาด้านจริยธรรมการวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพของนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ผลการศึกษาพบว่า การสะท้อนประเด็นจริยธรรมการวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพผ่านกรอบการอ้างอิงทางความคิดเดิมและกรอบการอ้างอิงทางความคิดใหม่มีบางประเด็นคล้ายคลึงกันและบางประเด็นแตกต่างกัน และการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกรอบการอ้างอิงทางความคิดใหม่ของนักศึกษา 5 ประเด็น ได้แก่ 1) นักศึกษาต้องระมัดระวังพฤติกรรมการวิจัยของตนเองในเรื่องของจริยธรรมมากขึ้น 2) กระบวนการเรียนรู้ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพสอนให้นักศึกษามีความละเอียดรอบคอบและตระหนักมากยิ่งขึ้นในการทำวิจัย 3) กระบวนการเรียนรู้สอนให้นักศึกษามีความรู้ในประเด็นจริยธรรมมากยิ่งขึ้น และลึกซึ้งขึ้น 4) กระบวนการเรียนรู้สอนให้นักศึกษามีความรู้ในการทำวิจัยเชิงคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการอ่านงานวิจัยเชิงคุณภาพได้อย่างเข้าใจและลึกซึ้งมากขึ้น และ 5) นักศึกษาเห็นว่า ตัวเองจะมีความเป็นนักวิชาการมากขึ้นและทำงานวิจัยที่มีคุณภาพมากขึ้นด้วย

 

          The research objectives were to study frame of references in ethics of the qualitative research and to develop D.P.A. students’ learning in ethics of the qualitative research. The researcher employed classroom action research. The research found that the reflection of D.P.A. students existing frame of reference and new frame of reference were both similar and different aspects. The development of students’ learning process showed five changing issues in the new frame of reference including; 1) students will spend more careful in research for ethical behavior, 2) learning process in qualitative research ethics makes students pay more attention and concern about ethics in research, 3) students get more knowledge in research ethics, 4) students get more knowledge in qualitative research and can understandingly apply for doing and reading the qualitative research and 5) students will be the scholars and generate high quality qualitative research

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นิศา ชูโต. (2548). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2541). จรรยาบรรณนักวิจัย. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

อุทัย ดุลยเกษม. (2536). การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Mezirow, J. (2004). Forum Comment on Sharan Merriam’s “The Role of Cognitive Development in Mezirow’s Transformational Learning Theory”. Adult Education Quarterly, 55(1), 69-70.

Stephenson, M. & Christensen, R. (2007). Mentoring for Doctoral Student Praxis-Centered Leaning: Creating a Shared Culture of Intellectual Aspiration. Non Profit and Voluntary Sector Quarterly, 36(4), 645-795.

Translated Thai References

Chuto, N. (2005). Qualitative Research. Bangkok: Print Pro. [in Thai]

Dulyakasem, U. (1993). Qualitative Research for Development: Khon Kaen: Institute of Research and Development Khon Kaen University. [in Thai]

National Research Council of Thailand. (1998). Code of Research Ethics. Bangkok: n.p. [in Thai]

Podhisita, C. (2004). Science and Art of Qualitative Research. Bangkok: Amarin Printing and Publishing. [in Thai]