การศึกษาชั้นเรียน พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

ณัฐวรรณ เฉลิมสุข

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการศึกษาชั้นเรียนพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่เรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ 3) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่เรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ต่อการเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2556 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ ด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) จำนวน 5 แผน เวลา 9 คาบเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย (p) 0.38 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 ถึง 0.62 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.62 3) แบบประเมินผลงานด้านความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย () ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติการทดสอบค่าที (t-test)

          ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เรื่องเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ ที่พัฒนาขึ้นด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ 88.16/86.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่เรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คะแนนผลงานด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่เรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ มีคะแนนอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.90 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) 2.71 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานสีน้ำ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.80 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) 0.02

 

          This study aims 1) to developed 4 MAT learning activity based on lesson study method for promoting Mathayom student’s creativity in water painting technique, 2) to compared learning achievement in water painting technique of Mathayom students learning by 4 MAT learning activity, 3) to studied the creativity of Mathayom students who are studying water painting technique product design and learning through 4 MAT learning activity, and 4) to studied satisfaction of Mathayom students who are studying water painting technique and learning through 4 MAT learning activity. The samples, derived from Cluster Random Sampling, consist of Mathayom 1 students of Piboonbumpen Demonstration School in academic year 2013. Tools used for this study were 1) 5 teaching plans based on 4 MAT learning activity within 9 periods of study, 2) in-class observation form for teaching evaluation, 3) learning achievement test with difficulty (p) between 0.38-0.80, discrimination (r) between 0.20-0.62, and reliability at 0.62, 4) creativity evaluation form, and 5) satisfaction evaluation form. Statistics used for data analysis were percentage, mean (), standard deviation (S.D.), and T-test of dependent sample.

          The findings were as follow. Firstly, the show that the efficiency of the 4 MAT learning plan developed by lesson study is 88.16/85.05 which is higher than the set efficiency (80/80). Secondly, the students’ learning achievement increases with statistical significance of .05. Thirdly, the students’ creativity is rated in good level. Lastly, the students’ satisfaction is rated high.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ เหง้าปุ้น. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกษร ทองแสน. (2553). การพัฒนาครู ตามมาตรฐานวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ โดยใช้การศึกษา บทเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฉลิม แสงดาว. (2553). การพัฒนาบทเรียนร่วมกันของครู (Lesson Study) เรื่องสมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชามาศ ดิษฐเจริญ. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคอนสตรัคชั่นนิซึ่มในรายวิชาการเขียนโปรแกรมพัฒนาหุ่นยนต์ประยุกต์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 214.

ธิดารักษ์ เชื้อสระคู. (2552). การพัฒนาการเรียนการสอนวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study): นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เนาวรัตน์ ภูโสดา. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ 4 MAT ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และความสนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บุญกรณ์ สกุลสวน. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนการสอนตามคู่มือครู. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 1(1), 81-91.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะการคิดและการสรรค์สร้างความรู้ส�าหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์, 21(1), 27-38.

รันดา วีระพันธ์. (2553). การพัฒนาบทเรียนร่วมกันของครู (Lesson Study) เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิไลวรรณ ฉายจรุง. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องนิทานเวตาล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สิทธิชัย จันทร์คล้าย. (2545). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนแบบ 4 MAT กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภาภรณ์ เสาร์สิงห์. (2552). กระบวนการสร้างแผนการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้การศึกษาชั้นเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมใจ สุรินทร์. (2550). ความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Curtis, K. M. (2006). Improving student attitudes : A study of a mathematics curriculum innovation. Dissertation Abstracts International, 67(4).

Eggen, P. D., Kauchak, D. P. & Harder, R. J. (1979). Strategies for Teachers Information Processing Model in the Classroom. New Jersey: Englewood Cliffs Prentice-Hill.

Getzels, J. W. (1963). Creativity and intelligence. New York: Wiley.Hill, T. (1992). The Watercolourist’s Complete Guide to Colour. London: Studio Vista.

Kaiser, R. K. (1993). Painting Outdoor Scenes in Watercolor. Ohio: North Light Books.

Kunz, J. (1998). Painting Watercolor Portraits That Glow. Ohio: North Light Books.

Saylor, J. G. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning (4th ed.). Japan: Holt-Saunders International Edition.

Sotirhos, S. K. (2005). Lesson Study in U.S. context: A case of professional community building.Ed.D. Dissertation. New York University.

Translated Thai References

Chajaru, V. (2005). Developing lesson plans using 4 MAT learning cycle of learning, Thailand. Vampire Tales Grade 5. An independent study Master of Education degree. In Curriculum and Instruction, Mahasarakham University. [in Thai]

Chanrang, P. (2010). The development of integrated teaching thinking skills and create awareness for the students of the two. Journal of Education, 21(1), 27-38. [in Thai]

Chanclai, S. (2002). A Comparison of Creative Thinking and Mathematics Achievement on Quadrilaterat of Prathom suksa six students Taught by The 4 MAT System and The conventional Method. Thesis Master of Education Major: Elementary Education Graduate School Burapha University. [in Thai]

Chuasrakoo, T. (2009). Instruction Development in Introduction Public Policy and Planning by 4 MAT’s Learning Circle Approach. Thesis Master of Public Administration. Department of Public Administration Faculty of Humanities and Social Sciences, Phetchabun Rajabhat University. [in Thai]

Dittacharoen, C. (2014). Development of Creative thinking and learning achievement for grade 12 students by using project Learning based on constructionism theory programing of an apply robot subject. Panyapiwat Journal, 5(2), 214. [in Thai]

Honkpun, K. (2009). Developing lesson plans subject. The creation of works of visual art strand learning Grade 3 by using the learning cycle 4 MAT. An independent study Master of Education degree. In Curriculum and Instruction Graduate School, Mahasarakham University. [in Thai]

Inprasitha, N. (2009). Lesson Study: An Innovation for Teacher and Student Development. Doctor of Education Thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Khon Kaen University. [in Thai]

ONEC. (2002). The National Education Act BE 2545. Bangkok: Office of the National Education Commission. [in Thai]

Phusoda, N. (2007). The Development of Lesson Plans by Using 4 MAT to Improve Ability in Mathematics Problem Solving and Learning Interest in Mathematics of Prathomsuksa VI Students. Master of Education Thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Kamphaeng Phet Rajabhat University. [in Thai]

Sangdon, C. (2010). The development of a share of teacher (Lesson Study) equations and solving equations. Learning Math Learning Grade 6 by learning the technical cooperation STAD. An independent study Master of Education degree. In Curriculum and Instruction, Mahasarakham University. [in Thai]

Sakulsuan, B. (2009). Comparing the achievement of learning. Science and science process skills of students in the sixth grade have been taught by 4 MAT on Learning and Instruction. Narkbhut Paritat Journal, 1(1), 81-91. [in Thai]

Saosing, S. (2009). Process of Constructing Mathematics Communication Skill Lesson Plans Through the Application of Lesson Study: A Case Study at Chiangmai University Demonstration Shool.Master of Arts Thesis Mathematics Education Graduate School, Chiang Mai University. [in Thai]

Surin, S. (2007). Creative Thinking in Language of Prathomsuksa VI Students Using 4 MAT Model.Master of Education Thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Khon Kaen University. [in Thai]

Thongsaen, K. (2010). Teacher Development Based on Mathematics Teachers Professional Standards through Lesson Study. Doctor of Philosophy Thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Khon Kaen University. [in Thai]

Viraparn, R. (2010). The development of a share of teacher (Lesson Study) a factor of thousands. Grade 6 by organizing learning activities and projects. An independent study Master of Education degree. In Curriculum and Instruction, Mahasarakham University. [in Thai]