การควบคุมปุ๋ยเพื่อการผลิตพืช

Main Article Content

ยงยุทธ โอสถสภา

บทคัดย่อ

          ปุ๋ยเป็นปัจจัยการผลิตพืชที่สำคัญอย่างหนึ่ง จึงต้องควบคุมคุณภาพเพื่อให้ใช้ได้ผลดีในการเพิ่มผลผลิตพืช ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลางหรือต่ำ การควบคุมปุ๋ยเป็นไปตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ซึ่งควบคุมปุ๋ยทั้ง 3 ชนิด คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ สำหรับปุ๋ยเคมีให้รวมความถึงปุ๋ยอินทรีย์เคมีด้วย การควบคุมปุ๋ยมี 2 ลักษณะคือ การควบคุมทั่วไป และการควบคุมปุ๋ยแต่ละชนิด การควบคุมทั่วไปสำหรับปุ๋ยที่ผลิตเพื่อการค้าหรือมีไว้เพื่อขายมี 2 ส่วนคือ การกำหนดให้ปุ๋ยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฉลาก มีเอกสารกำกับปุ๋ย และระบุขนาดบรรจุ สำหรับฉลากปุ๋ยเคมีกำหนดให้ระบุสูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุอาหารรับรอง ฉลากปุ๋ยอินทรีย์ระบุปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง ส่วนฉลากปุ๋ยชีวภาพระบุปริมาณจุลินทรีย์รับรอง ก่อนการผลิตปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ เพื่อการค้า นำเข้าหรือนำผ่านราชอาณาจักร ต้องนำปุ๋ยดังกล่าวไปขอนุญาตขึ้นทะเบียนก่อน เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนแล้วจึงขออนุญาตผลิต นำเข้าหรือนำผ่านเฉพาะปุ๋ยที่ขึ้นทะเบียน สำหรับปุ๋ยเคมีนั้น ปุ๋ยที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนมี 3 ประเภทคือ ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ปุ๋ยธาตุอาหารรอง และปุ๋ยธาตุอาหารเสริม การควบคุมคุณภาพปุ๋ยประกอบด้วยการห้ามผลิตเพื่อการค้าหรือนำเข้าปุ๋ยปลอม ปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพต่ำกว่าเกณฑ์ ปุ๋ยที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่มิได้ขึ้นทะเบียน ปุ๋ยที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียน และปุ๋ยที่มีสารพิษเกินกว่ากำหนด ห้ามการโฆษณาปุ๋ยโดยบอกสรรพคุณอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ห้ามบอกส่วนประกอบของปุ๋ยที่เป็นเท็จ และห้ามการรับรองหรือยกย่องคุณภาพปุ๋ยโดยบุคคลอื่น

 

          Fertilizer is one of the important crop production factors. The control of fertilizer quality is necessary for effective use in increasing crop yield in medium and low fertility soils. Fertilizer control can be done according to the Fertilizer Act B.E. 2518 and Fertilizer Act (No.2) B.E. 2550, which authorized to control chemical fertilizer, organic fertilizer and biological fertilizer. Organic chemical fertilizer is similarly regulated as chemical fertilizer. There are two types of fertilizer control; general control and the control of each kind of fertilizers. In general control of fertilizer for trade, fertilizer products should have label, exhibited document and package size. The label of chemical fertilizer indicates formula and guaranteed quantity of nutrients. While the labels of organic fertilizer and biological fertilizer indicate guaranteed quantity of organic material and guaranteed quantity of effective microorganisms respectively. Registration of chemical fertilizer, organic fertilizer and biological fertilizer should be done to obtain the certificate of registration before the application for the license concerning the permission for fertilizer production for trade, importation and transit of fertilizer. The registration is not necessary for standard chemical fertilizers, secondary nutrient fertilizer and micronutrient fertilizer. The fertilizers having the following properties are not allowed to manufacture, sell or import; fake fertilizer, non-conforming standard of chemical fertilizer, deteriorated chemical fertilizer, either biological fertilizer or organic fertilizer that fails to meet the minimum requirement referred to as non-conforming requirement and fertilizer containing poisonous substance exceeding the maximum limit. Fertilizer advertisements for sale by giving false statement on claims of fertilizer or being guaranteed by other person are not permitted.  

 

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2558). สถานภาพทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศไทย. กรุงเทพฯ. กรมพัฒนาที่ดิน.

กรมวิชาการเกษตร. (2521). ประกาศกรมวิชาการเกษตร วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2521 เรื่อง ให้ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้า ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร.

กรมวิชาการเกษตร. (2546ก). รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2546 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาต การอนุญาต และการขอใบอนุญาต ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร.

กรมวิชาการเกษตร. (2546ข). รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมวิชาการเกษตร วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เรื่อง การขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร.

กรมวิชาการเกษตร, (2546ค). การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาต การอนุญาต และการขอใบอนุญาต ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร.

กรมวิชาการเกษตร. (2548ก). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการ กรมวิชาการเกษตรฉบับที่ 8/2548, กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร.

กรมวิชาการเกษตร. (2548ข). ประกาศกรมวิชาการเกษตร วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2526). ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 เรื่อง กำหนดวัสดุที่ใช้ทำภาชนะ บรรจุ วิธีปิดผนึกภาชนะและขนาดบรรจุปุ๋ยเคมีเพื่อการค้าและเกณฑ์คลาดเคลื่อนของปริมาณธาตุอาหารรับรอง (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2528). ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เรื่อง กำหนดข้อความอื่นที่กำหนดให้มีในฉลาก ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518. (ฉบับที่ 1) กรุงเทพฯ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2541). ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518. (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2544). ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2544 เรื่อง กำหนดปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518. กรุงเทพฯ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2554). ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เรื่อง กำหนดปริมาณอินทรียวัตถุที่ให้มีในปุ๋ยอินทรีย์เคมี ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555 เรื่อง ข้อความอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดให้มีในฉลากปุ๋ย. กรุงเทพฯ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

บรรลุ พุฒิกร ศานิต เก้าเอี้ยน และเอื้อ สิริจินดา. (2549). เศรษฐศาสตร์การผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยงยุทธ โอสถสภา (2528). หลักการผลิตและการใช้ปุ๋ย. กรุงเทพฯ. บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ยงยุทธ โอสถสภา. (2557ก). คุณภาพดินเพื่อการเกษตร. กรุงเทพฯ. สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย.

ยงยุทธ โอสถสภา. (2557ข). การให้ปุ๋ยทางใบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยงยุทธ โอสถสภา. (2558). ธาตุอาหารพืช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. (2556). ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 92 ตอนที่ 5. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2518.

พระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 7 ก. วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2551.

อำนวย ปะติเส. (2558). นโยบายและมาตรฐานการส่งเสริมปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเพื่อภาคเกษตรไทยยั่งยืน. เอกสารประกอบการบรรยายที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ. กรรมาธิการฝ่ายการเกษตรของรัฐสภา.

Bruulsema, T. W., Heffer, P., Welch, R. M., Cakmak, I. and Moran, K. (2012). Fertilizing Crops to Improve Human Health: a Scientific Review Volume 1: Food and Nutrition Security. Paris. IPNI and IFA,

FAO. (2012a). The State of Food and Agriculture 2010-2011. Rome. Food and Agriculture Organization.

FAO. (2012b). Current world fertilizer trends and outlook to 2016. Rome, Food and Agriculture Organization of United Nations.

IFA. (2011). World Fertilizer Consumption. New York. International Fertilizer Industry Association.

IFA. (2016). Medium-term fertilizer outlook. New York. International Fertilizer Industry Association.

IPNI. (2012). 4R Plant Nutrition: A Manual for Improving the Management of Plant Nutrition. 3500 Parkway Lane, Suite 550, Norcross, GA, USA. International Plant Nutrition Institute.

Roberts, T. L. (2009). The role of fertilizer in growing the world’s food. Better Crops. 93(2): 12-15.

Roberts, T. L., and Norton, R. (2012). Applying 4R nutrient stewardship to wheat. Better Crops. 96 (3): 3-4.

SSSA. (2008). Glossary of Soil Science Terms. Madison, Wisconsin. 677 S. Segoe Road, Madison, WI 53711, USA, Soil Science Society of America.