ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค ความเครียดในการทำงานต่อพฤติกรรมองค์การเชิงบวก

Main Article Content

สิริกาญจน์ เพ็ญศิริกุล

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ความเครียดในการทำงาน และพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงานในองค์การ รวมทั้งศึกษาอำนาจในการพยากรณ์พฤติกรรมองค์การเชิงบวกของความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค และความเครียดในการทำงานของพนักงานในองค์การ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนต่างประเภทกัน 5 องค์การ แบบสอบถามที่ได้รับคืนจากทุกองค์การ จำนวนรวม 580 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Person’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) 

          ผลการศึกษาพบว่า (ก) ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวก (ข) ความเครียดในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวก (ค) ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการทำงาน (ง) ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคสามารถทำนายพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงานในองค์กร ผลที่พบนี้ทำให้เสนอแนะได้ว่า เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมองค์การเชิงบวกเพิ่มขึ้น องค์การควรส่งเสริมพัฒนาให้พนักงานมีทักษะความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคเพิ่มขึ้น ซึ่งผลที่เกิดพร้อมกันไปคือ พนักงานจะมีความเครียดในการทำงานลดลง

 

          The objectives of this study were to examine the relationships among adversity quotient, job stress, and positive organizational behaviors of employees. In addition, it was aimed at studying the predictive power of adversity quotient, job stress, on positive organizational behaviors. Questionnaires were utilized to collect data from employees of public and private organizations, of which 580 completed questionnaires were returned. The methodologies including Descriptive Statistics, Person’s Product Moment Correlation and Multiple Regression Analysis were used for data analysis.

           Data Analysis demonstrated that: (a) adversity quotient was positively related to positive organizational behavior (b) job stress was negatively related to positive organizational behaviors (c) adversity quotient was negatively related to job stress and (d) adversity quotient exerted  predictive power on positive organizational behaviors. The findings could provide suggestion that in order to increase positive organizational behaviors, organizations should induce or develop adversity quotient, which result in job stress reduction simultaneously.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬาลักขณ์ ปรีชากุล. (2549).การศึกษาปัจจัยชีวสังคมที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความสามารถของตนเองและความเครียดในการทำงานของตัวแทนประกันชีวิตบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตจำกัด.สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนวรรณ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550).พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

นฤมล เรืองรุ่งขจรเดช. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคการสนับสนุนทางสังคมและความเครียดในการปฏิบัติงาน:กรณีศึกษาบริษัทพัฒนาโปรแกรมระบบงานแห่งหนึ่ง.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรสุภา วสุนธรา. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคกับความรับผิดชอบในงานของนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วรัญญพร ปานเสน. (2550).ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคความผูกพันใจต่อเป้าหมายและวิธีการสร้างอิทธิพลที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของนักธุรกิจอิสระของธุรกิจขายตรงหลายชั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาดา คุปตานนท์. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การเทคนิคการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศุภนุช สุดวิไล. (2550).การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคและความเครียดในการทำงานของพนักงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมาลินี มธุรพจน์พงศ์. (2555). ความหวังการมองโลกในแง่ดี และความสามารถในการฟื้นคืนได้: ตัวแปรทำนายผลงาน ความพึงพอใจ ความสุขในการทำงานและความผูกพันกับองค์การ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,5(3), 306-318.

อาทิตา กลับเพิ่มพูน. (2549). การมองโลกในแง่ดีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคศึกษาเฉพาะกรณีหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่ง.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Beheshtifar, M. & Nazarian, R. (2013). Role of occupational stress in Organization. Journal of Contemporary Research in Business, 4(9), 648-657.

Cartwright, S. & Cooper, C. (2014).Bridging occupational,organizational and public health. Dordrecht: Springer.

Greenberg, J. (2005).Managing behavior in organization.New York: Pearson Education.

Luthans, F. & Youssef, C. M. (2007). Emerging positive organizational behavior. Journal of Management, 33(3), 321-349.

Luthans, F. (2002). The need for and meaning of positive organizational behavior. Journal of Organizational Behavior,23(6), 695-706.

Luthans, F. (2008).Organization behavior(11th ed.). Singapore: McGraw-hill.

Rossi, A. M., Quick, J. C. & Perrewé, P. L. (2009). Stress and Quality of Working Life:The Positive and the Negative. Charlotte, N.C.: Information Age.

Stoltz, P. G. & Weihenmayer, E. (2006). The Adversity Advantage :Turning Everyday Struggles in to Everyday Greatness.New York:Simon & Schuster.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity Quotient: Turning obstacles in to opportunities.New York: John Wiley and sons.

Translated Thai References

Glubpermpoon, A. (2006). Optimism,the big five person ality types and adversity quotient: a case study of a government organization.Master’s Thesis, Thammasat University. [in Thai]

Kuptarnon, W. (2008). Management and organizational behavior:Modern management techniques.Bangkok: Rangsit University. [in Thai]

Maturapodpong, S. (2012). Hope, optimism, and resilience as predictors of performance, job satisfaction, work happiness, and organizational commitment. Veridian E-Journal,5(3), 306-318. [in Thai]

Parnsen, W. (2007). Affect of Adversity Quotient, Goal Commitment and Influence Tactics on Performance of Independent Business Owner in Multilevel Direct Marketing. Master’s Thesis, Thammasat University. [in Thai]

Preechakul, J. (2006). A Study of Biosocial Factors as related to Self-efficacy and Job Stress of MuangThai Life Assurance Agents. Independent Study, Srinakharinwirot University. [in Thai]

Ruangrungkhajondech, N. (2007). The relationship between adversity quotient, social support and job stress: a case study of software house. Master’s Thesis, Thammasat University. [in Thai]

Sudwilai, S. (2007). A Study of the Relationship between Perceived Self-Efficacy, Adversity Quotient, and Job Stress in a Private Company. Independent Study, Thammasat University. [in Thai]

Tangsinsapsiri, T. (2007). Organization Behavior. Bangkok: Thanathud printing. [in Thai]

Wasoontara, P. (2006). Relationships between Adversity Quotient (AQ) and Responsibility on the Job of Programmers. Master’s Thesis, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok. [in Thai]