การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ขนส่งสินค้าที่มีต่อระบบการจัดการขนส่ง ตามลักษณะทางกายภาพคลังสินค้าและลักษณะงาน

Main Article Content

วราภรณ์ คล้ายประยงค์
วัลลภ สถิตาภา

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ขนส่งสินค้าที่มีต่อระบบการจัดการขนส่งใน 3 ด้าน
ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านสถานที่ และด้านค่าตอบแทน นำมาเปรียบเทียบความพึงพอใจดังกล่าวตามลักษณะทาง
กายภาพคลังสินค้าและลักษณะงาน โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง
คือ พนักงานที่อยู่ในระบบการกระจายสินค้าของประเทศไทย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ในจังหวัดที่มีสัดส่วนของข้อมูลการขนส่งและโลจิสติกส์สูง จำนวน 10 จังหวัด ตัวอย่างจำนวน 384 คน การเก็บ
รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยสถิติพรรณา (Descriptive Statistic) ได้แก่ จำนวน
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน (Inferential Statistic) ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน
แบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยสถิติ Fisher’s LSD (Least
Signifcant Difference)
     ผลการวิจัยพบว่า จากศูนย์กระจายสินค้า 10 จังหวัด ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภาคกลาง ร้อยละ 61.5 เป็นศูนย์
กระจายสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค (Dry Grocery Distribution Center) ร้อยละ 59.6 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น
พนักงานขับรถที่เป็นรถของตนเอง ร้อยละ 44.3 ปฏิบัติงานมาแล้ว 1-5 ปี ร้อยละ 48.7 มีความความพึงพอใจต่อ
ระบบการจัดการขนส่งในภาพรวมอยู่ที่ระดับความพึงพอใจปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.26) ผลการทดสอบสมมติฐาน
พบว่า ตัวแปรประเภทคลังสินค้า มีผลต่อความพึงพอใจด้านสถานที่ ตัวแปรด้านตำแหน่งงาน มีผลต่อความพึงพอใจ
ในภาพรวม ด้านการบริหาร และค่าตอบแทน และตัวแปรระยะเวลาการปฏิบัติงาน มีผลต่อความพึงพอใจด้านการบริหาร
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรด้านแหล่งที่ตั้งของคลังสินค้า ไม่พบผลต่อความพึงพอใจในทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Beer, M. (1964). Organizational size and job satisfaction. Academy of Management Journal, 7(1), 34-44.

Bhatti, K. & Qureshi, T. (2007). Impact of employee participation on job satisfaction, employee commitment and employee productivity. International Review of Business Research Papers, 3(2), 54-68.

Cross, B. & Travaglione, A. (2004). The times they are a-changing: who will stay and who will go in a downsizing organization? Personnel Review, 33(3), 275-290.

Field, D. & Johnson, I. (1993). Satisfaction and change: a survey of volunteers in a hospice organization. Social Science and Medicine, 36(12), 1625-1633.
Maneetrakunthong, A. (2014). Pay for Performance and Work Culture in Thailand. MBA-KKU Journal, 7(1), 21-38. [in Thai]

Mentzer, J. T., Daniel, J. F. & Kent, J. L. (1999). Developing a Logistics Service Quality Scale. Journal of Business Logistics, 20(1), 9-32.

Morse, N. C. (1977). Satisfactions in the white-collar job. North Stratford: Ayer publishing. Offce of The National
Economic and Development. (2018). Thailand’s Logistics Development Strategy 3th (2007-2011). Bangkok: Prime Minister’s Offce. [in Thai]

Pratep, S. (2014). The Development Service of the Singtarual Phatthalung Logistics. Veridian E-Journal, 7(2), 1094-1102. [in Thai]

Prime Minister’s Offce. (2018). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Prime Minister’s Offce. [in Thai]

Smithikrai, C. (2014). Industrial and Organizational Psychology (2nd ed.). Bangkok: V print (1991) Company. [in Thai]

Sorat, T. (2007). The importance Regional Logistics Hubs in The Greater Mekong. Retrieved April 18, 2018, from https://www.tanitsorat.com/view.php?id=51 [in Thai]

Sun, I. S., Yoo, D. K. & Yang, H. C. (2016). The Empirical Study of Logistics Service Quality Factors influencing Service Satisfaction on Supplying the Industrial Goods in the Tourism and Leisure Industry: Focusing on the Moderating Effects of Job Types. International Journal of u- and e- Service, Science and Technology, 9(4), 203-212.

The Knowledge Management Institute Foundation. (2018). Thailand 4.0 Model Drive of Thailand towards Stability, Wealth and Sustainable. Bangkok: The Knowledge Management Institute Foundation. [in Thai]