แนวทางการสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ร้านสะดวกซื้อในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ภคกฤช สุวรรณมา
ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) ศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน (3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง จำนวน 403 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่มผู้บังคับบัญชาของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง จำนวน 12 คน

            ผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์พบว่า (1) พนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ มีความสุขในการทำงานในระดับมากเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นองค์ประกอบทางด้านกายที่มีระดับความสุขในการทำงานน้อย (2) เมื่อเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อ จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า พนักงานทุกระดับการศึกษามีความสุขในการทำงาน โดยเฉพาะระดับปริญญาตรีมีความสุขมากที่สุด หากจำแนกตามระดับตำแหน่งงานของพนักงานทั้งหมด พบว่า ผู้จัดการ มีความสุขในการทำงานมากที่สุดในทุกๆ ด้าน และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า พนักงานที่มีประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี มีความสุขในการทำงานมากกว่าระดับอื่น (3) แนวทางการสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ผู้วิจัยพบว่ามีทั้งหมด 7 แนวทางในการสร้างความสุข ได้แก่ 1) ใส่ใจ 2) ส่งเสริม 3) สร้างภูมิ 4) สื่อสาร 5) สานสัมพันธ์ 6) สนุกสนาน และ 7) สังสรรค์

 

           The purpose of this case study research is to (1) study operational employees happiness levels in the workplace, (2) to compare operational employees happiness classified by educational level, positional level, and working experience, and (3) to recommend the guideline of creating operational employees happiness in the workplace. The population sample were 403 operational employees. This research used stratified random sampling method and used a set or five rating scale questionnaire to collect data. The researcher used one-way variance analysis to analyze data. In addition, the researcher also analyzed content from group discussion of 12 operational employee supervisors.

           The results of the study were 1) level of operational employees happiness more in high level, 2) the researcher found that when comparing operational employees educational level, positional level and working experience, undergraduate operational employees were the most happiest group and other educational level were just happy. Managerial position was happier than other positions. Moreover, operational employees, who had 6-10 years of working experience, were the most happiest group at work, and 3) the researcher found that there were seven ways of creating happiness at work for operational employees including 1) empathy, 2) encouragement, 3) building strength, 4) communication, 5) corporation, 6) fun, 7) party.         

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทรัตน์ อุ่ยประเสริฐ. (2552). ความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทเฟิสท์ดรัก จำกัด จังหวัดเชียงใหม่.การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิสารัตน์ ไวยเจริญ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานปฏิบัติการผลิตในบริษัทยูแทคไทยจำกัด(สำนักงานใหญ่).หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุขกรณีศึกษานักศึกษาภาคพิเศษระดับปริญญาโท.สารนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข.นครปฐม: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2552). ส่งความสุขสู่ทุกชุมชน (ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บุ๊คสไมล์.

สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร. (2556). การสำรวจสุขภาวะและสวัสดิการพ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร.

สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์:กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อภิชาต ภู่พานิช. (2551). การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของบุคลากร สังกัด สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Anderson, V. (2004). Research Methods in Human Resource Management.London: Chartered Institute of Personnel and Development.

Ben-Shahar, T. (2007). Happiness: lessons from a new room. New York: The Penguin Press.

Biswas-Diener, R. (2003). Authentizotic Climates and Employee Happiness: Pathways to Individual Performance?. Journal of Business Research,61(7), 739-752.

Chamorro-Premuzic, T., Bennett, E. & Furnham, A. (2007). The Happy Personality: Mediational Role of Trait Emotional Intelligence. Personality and Individual Differences,42(8), 1633-1639.

Chiumento Institution. (2006). Work and motivation. New York: John Wiley and Sons.

Herzberg, F. (1982).The Motivation–Hygiene Theory Management and Motivation.In V room, V. H. & Decl, E. L. (Eds.). Baltimore, MD: Penguin Books.

Kjeruft, A. (2014). Happy Houris 9 to 5. Retrieved September 13, 2014, from http://positivesharing.com/happyhouris9to5/bookhtml/happyhouris9to54.html

Warr, P. (2007). Work,happiness and unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Association.

Translated Thai References

Kittisuksatit, S. et al. (2012). Quality of Life,Work and Happiness. Nakhon Pathom: Tummada place printing. [in Thai]

Lertwiboonmongkol, J. (2004). Relationships Between Personal Factors,work empowerment, achievement motivation,and work happiness of staff nurses,governmental university hospitals. Master of Nursing Science, Nursing Administration, Chulalongkorn University. [in Thai]

Menapodhi, R. (2007). Happiness in the Work place Indicator. Master of Science (Human Resources Development), Faculty of human Resources Development, National Institute of Development Administration. [in Thai]

Ouiprasert, N. (2008). Happiness at work of employee at first drug company limited,Chiang Mai province. Master of Business Administration Program. Faculty of Business Administration, Bachelor of Business Administration, Chiang Mai University. [in Thai]

Phupanich, A. (2008). Happiness at work index of personnel of the Office of the Rector Thammasat University.Master of Social Work Program, Thammasat University. [in Thai]

Sae-Chua, S. (2010). Work Happiness of Creative Class: A Case Study of Creative Industries in Media and Functional Creations Groups. Master of Science (Human Resource and Organization Development), National Institute of Development Administration. [in Thai]

Thai Health Promotion Foundation. (2009). Sending Happy to society(1st ed.). Bangkok: Book Smile. [in Thai]The Organization of Wellness Support. (2013). Health and Welfare 2013. Bangkok: The Organization of Wellness Support. [in Thai]

Wijarean, N. et al. (2011). Factors Effecting Happiness in Working of Assembly Line Employees in Utac Thai Co.,Ltd.(The Headquarters). Master of Arts, department of Psychology, Faculty of Social Sciences, Kasetsart University. [in Thai]