ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT : กรณีศึกษาโครงการ Pre-Calculus 2557

Main Article Content

นฤเทพ สุวรรณธาดา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างก่อนกับหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT และ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT โดยผู้วิจัยได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบการสอน ADDIE Model ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ 2) การออกแบบ 3) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 4) การทดลองใช้ และ 5) การประเมินผล โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต ที่เข้าร่วมโครงการ Pre-Calculus 2557 ประจำปีการศึกษา 2557 อีกทั้งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา จำนวน 3 คน และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยเทคนิค TGT และใช้การหาค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง นำมาทดสอบค่าแจกแจงแบบที (t-test) ในการวิเคราะห์ข้อมูล

           ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้เรียน มีผลการเรียนหลังเรียนด้วยเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยที่ 4.24      

 

          The purposes of this research were (1) to compare the achievement of students between before and after school activities in learning math with TGT (Teams-Games-Tournaments) technique. and (2) to study the satisfaction of the students about
the mathematic learning activities with a TGT technique. The research was carried out by
the design and development of teaching ADDIE Model consists of 1) Analysis 2) Design
3) Development 4) Implementation and 5) An evaluation by population and group samples from the student of computer engineering and multimedia and internet engineering whom participate in Pre-Calculus 2014 in the academic year 2014.  Other tools that also used in the research consisted of 1) a pre-test and post-test that has been evaluated by three content experts and 2) An evaluation form of the student’s satisfaction towards the TGT technique and finding the difference of the average before and after class of the sample group. Then test the distribution of data analysis in (t-test) model.

          Results of the study were: 1) Students have higher learning results after using TGT technique at a statistical significance level of .05 and 2) The overall satisfaction of
the students were in very good shape, representing an average of 4.24.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). การจัดสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่1-2หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กราฟฟิคโกร.

เทอดศักดิ์ เดชคง. (2542). จากความฉลาดทางอารมณ์สู่สติและปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ปรวีร์ ถนอมคุณ. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบTGT(Teams-Games-Tournaments)ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชาการออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศศิธร สาวงศ์นาม. (2556).การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่4ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบTGT. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภมาศ การะเกตุ และสุชาดา บวรกิติวงศ์. (2552). การเปรียบเทียบความเที่ยงและความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบในการประมาณค่าแบบยึดพฤติกรรมในการประเมินการสอนของครูปี2552. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเดช บุญประจักษ์. (2544). การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1โดยการเรียนแบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมทรง สุวพานิช. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา1023662พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.

Translated Thai References

Boonprajak, S. (2001). Development of mathematical power of mathayomsuksa I students through cooperative learning.Mathematics Education, Srinakharinwirot University.[in Thai]

Dejkong, T. (1999). The emotional intelligence to consciousness and intelligence.Bangkok: Matichon Public. [in Thai]

Department of Curriculum and Instruction Development. (2002). The Learning Math Grade1-2 curriculum for basic education. Bangkok: Graphic Grow. [in Thai]

Karaket, S. & Bowarnkitiwong, S. (2009). Comparisons of Reliability and Systematic error of Estimation of Likert Rating Scale and Behaviorally Anchored rating scales for Teachers’ Teaching Assessment in the year 2009.Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Sawongnam, S. (2013). Arrangement activity learning mathematics development about Fraction of the elementary pupil studies year that 4 by use the group cooperates model,TGT.Mahasarakham: Mahasarakham University. [in Thai]

Suwapanich, S. (2006). Teaching subjects 1023662 Teaching Behavior At the primary level. Mahasarakham: Department of Educational, Rajabhat Maha Sarakham University. [in Thai]

Thanomkhun, P. (2012). A Development of Web-Based Instruction for Computer Mathematics Applying A Teams-Games-Tournaments (TGT) Technique. Bangkok: Computer Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai]

Tiantong, M. (2005). Design and Development of Computer Instruction. Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai]