การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์มะพร้าว เพื่อการลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวอามาน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

เนตรวดี เพชรประดับ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์มะพร้าว ใช้ในการตัดสินใจลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวอามาน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส กลุ่ม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์มะพร้าว ใช้ในการตัดสินใจลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวอามาน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส กลุ่ม
ตัวอย่างคือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวอามาน สุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ข้อมูลทางการเงินช่วงปี 2557 -2559 เป็นผลการดำเนินงานของน้ำมันมะพร้าว มะพร้าวคั่ว และถ่านอัดกะลามะพร้าว โดยใช้อัตราส่วนทางการ
เงินวัดความสามารถในการทำกำไรและใช้การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้มความสามารถในการทำกำไรเพื่อตัดสินใจลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานของมะพร้าวคั่วในช่วง 3 ปี ได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี การวัด
ความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับรายได้และเงินทุนเริ่มแรกของมะพร้าวคั่วและการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราร้อยละของแนวโน้มความสามารถในการทำ
กำไรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในทุกๆปีเมื่อเปรียบเทียบกับปีฐาน ดังนั้นมะพร้าวคั่วจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ควรพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าในอนาคต เพราะวิสาหกิจชุมชนจะได้รับผลตอบแทนจากส่วนทุนกลับคืนมาในสัดส่วนที่สูง อีกทั้งการวิเคราะห์
ความสามารถ ในการทำกำไรเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนทางธุรกิจ กลยุทธ์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนำไปสู่ความเจริญเติบโตยั่งยืนแก่ชุมชน 

Article Details

How to Cite
เพชรประดับ เ. (2018). การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์มะพร้าว เพื่อการลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวอามาน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 87–95. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/115934
Section
Research Article

References

1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2553). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน 2548. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561,
จาก https://www.moac.go.th.

2.เกษรี ณรงค์เดช. (2558). รายงานการเงิน. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ป.

3.เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2559). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน).

4.นุชจรี พิเชฐกุล. (2560). รายงานการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็นเพรส.

5.เพชรี ขุมทรัพย์. (2559). วิเคราะห์งบการเงินหลักและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

6.สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส. (2560). ผลประกอบการแต่ละผลิตภัณฑ์มะพร้าวของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวอามาน
ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ประจำปี 2557-2559. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2560 จาก
https://www.narathiwat.doae.go.th.

7.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564). ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2561 จาก https://www.nesdb.go.th.

8.โสภณ บุญถนอมวงศ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไร และประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์.
สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงกลยุทธ์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.

9.อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2560). การบัญชีต้นทุน. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561 จาก https://www.kku.ac.th.
Halimanhton B., Rozita N., and Mohamed N.A. (2014) The impact of financial ratios on the financial
performance of a chemical company.World Journal of Entrepreneurship, Management and
Sustainable Development, 10(2), 154-160.

9.Velury, U. & Jenkins D.S. (2006). Institutional ownership and the quality of earnings. Journal of business
research, 59, 1043-1051.