อิทธิพลของกระแสเงินสด ต่อความสามารถในการทำกำไร และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด กรณีศึกษา ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)

Main Article Content

วีระวรรณ ศิริพงษ์
กมลรัตน์ สฤษฎีพีรพันธุ์
มัทนชัย สุทธิพันธุ์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของกระแสเงินสด ความสามารถในการทำกำไร และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ รวมทั้งทดสอบอิทธิพลของมูลค่ากระแสเงินสดต่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของกระแสเงินสด ความสามารถในการทำกำไร และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ รวมทั้งทดสอบอิทธิพลของมูลค่ากระแสเงินสดต่อ
ความสามารถในการทำกำไร และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินในรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จำนวน 70 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการ
ศึกษาครั้งนี้คือ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ  ผลการศึกษา พบว่า ระดับความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ยเท่ากับ 3.186 ระดับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยเท่ากับ 1,626.317 บาท สำหรับค่าเฉลี่ยของกระแสเงินสดในกิจกรรมต่างๆ พบว่ากระแสเงินสดจากการจัดหาเงินมีค่า
เฉลี่ยมากที่สุด 105.864 บาท ผลการศึกษา ไม่พบอิทธิพลของมูลค่ากระแสเงินสดในกิจกรรมต่างๆ ขนาดองค์กร และประเภทสำนักงานสอบบัญชีต่อระดับความสามารถในการทำกำไร แต่การศึกษาพบอิทธิพลของมูลค่ากระแสเงินสดในกิจกรรม
ดำเนินงาน และ มูลค่ากระแสเงินสดในกิจกรรมจัดหาเงินมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด

Article Details

How to Cite
ศิริพงษ์ ว., สฤษฎีพีรพันธุ์ ก., & สุทธิพันธุ์ ม. (2018). อิทธิพลของกระแสเงินสด ต่อความสามารถในการทำกำไร และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด กรณีศึกษา ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI). Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 111–120. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/133578
Section
Research Article

References

1.จินตนา โลหิตหาญ. (2554). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินกับผลการดำเนินงานความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในอนาคต ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.spu.ac.th.

2.ดิษพงษ์ ชัยวิชญชาติ. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ หลังวิกฤติเศรษฐกิจ.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

3.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2559). การจดทะเบียนหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560.
จาก https://www.set.or.th/th/faqs/listing_pl.html

4.ปราณญาดา สถาปรัตน์กุล และประยูร โตสงวน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไร
ที่มีต่อราคาตลาดของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. การประชุมวิชาการและเสนอ
ผลงานวิจัยระดับชาติสร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 2, 18-19 มิถุนายน 2558 ณ
วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา P.479-486.

5.ปาริชาติ ประจักษ์สูตร์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกำไรสุทธิ มูลค่าตามบัญชี และกระแสเงินสดจาก
กิจกรรมดำเนินงานที่มีต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในกลุ่ม SET 100. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

6.วนิชา เลิศพิริยสุวัฒน์. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรใน
อนาคต : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดอุตสาหกรรมรถยนต์. โครงการปริญญาโท
ทางการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

7.ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2558). ตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้น
ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

8.สุรีย์ วงศ์สืบชาติ. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคต :
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. การค้นคว้าอิสระบัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

9.อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์. (2554). การวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
อัญญา ขันธวิทย์ และสุลักษมณ์ ภัทรธรรมมาศ. (2549). กลไกของตลาดการเงินในระบบเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

10.Jones, J. (1991). Earning Management During Import Relief Investigations. Journal Accounting Research,
29(2), 193-228.