การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย : แนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการจัดการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลางโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Main Article Content

สริตา พันธ์เทียน
ทรงคุณ จันทจร
มาริสา โกเศยะโยธิน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง เก็บข้อมูลจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดลุ่มน้ำภาคกลาง จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง เก็บข้อมูลจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดลุ่มน้ำภาคกลาง จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ
มหานคร สมุทรสงคราม และสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มผู้รู้ จำนวน 15 คน 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 18 คน และ 3) กลุ่มบุคคลทั่วไป จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบ
สัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 3) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 6) แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า เพื่อให้ข้อมูลมีความเป็นจริงและน่า
เชื่อถือ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านปัญหาการจัดการการท่องเที่ยวที่ควรได้รับการแก้ไขของการท่องเที่ยวที่ใช้อาหารเป็นจุดดึงดูดคือ ท้องถิ่นต่าง ๆ ควรมีการพัฒนาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารของฝากให้มีความทันสมัย ด้านการตลาดควรให้
การอบรมการประชาสัมพันธ์และการทำการตลาดแก่ชุมชน เพื่อเผยแพร่ข่าวสารได้ด้วยตนเองผ่านสื่อต่างๆ อีกทั้งการบริการในแหล่งท่องเที่ยวควรมีการปรับปรุงด้านความสะอาดของห้องน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ เช่น ที่พัก
หรือร้านอาหารต้องมีความสะอาด การคมนาคมขนส่งควรปรับปรุงให้มีความสะดวกและเข้าถึงง่ายเนื่องจากสภาพพื้นฐานทางการท่องเที่ยวต่างๆ เหล่านี้สามารถทำให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ง่าย อีกทั้งได้รับความสะดวกและมีความ
ปลอดภัยทำให้นักท่องเที่ยวต้องการมาท่องเที่ยวได้มากขึ้น 2) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว สามารถทำได้โดยการจัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อน
ทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวเดิมให้เกิดรูปแบบการท่องเที่ยวแบบใหม่ เช่น การเยี่ยมชมการเพาะปลูกและการปศุสัตว์ในแหล่งทรัพยากรด้านอาหารในท้องถิ่นและทดลองทำอาหาร การใช้วัฒนธรรมการปรุงอาหารในการนำเสนอการท่องเที่ยว
เชิงประวัติศาสตร์เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านการประกอบอาหาร กิจกรรมเหล่านี้สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนและสร้างเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของชุมชนและประเทศต่อไป

Article Details

How to Cite
พันธ์เทียน ส., จันทจร ท., & โกเศยะโยธิน ม. (2018). การท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย : แนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการจัดการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลางโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(2), 184–195. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/133587
Section
Research Article

References

1.มณีวรรณ ผิวนิ่ม และปรารถนา จันทรุพันธ์. (2549,). พัฒนาการและผลกระทบของการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำ.
รวมบทความวารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 1, 172-173.

2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2554). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และการท่องเที่ยวยั่งยืน. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2554, จาก
http://conservation.forest.ku.ac.th/ecotourdb/Cgibin/ARTICLE/eco2sustainable/content13.html

3.รจนา จันทรสา และภานุ ศิริพงศ์ไพโรจน์. (2552). การนำเอกลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อประยุกต์ใช้กับบรรจุ
ภัณฑ์เซรามิกส์สำหรับบรรจุขนมหวานไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

4.รัฐบาลไทย. การท่องเที่ยวของไทยมีแนวโน้มเติบโตที่ดี. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2554 จาก
http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=
1779&contents=46257>

5.สมศรี เจริญเกียรติกุล อทิตดา บุญประเดิม , วัชรี ดิษยบุตร , มัณฑนา ร่วมรักษ์ และ เย็นใจ ฐิตะฐาน, (2545).คุณค่าอาหารไทยเพื่อสุขภาพ. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2560, จาก http:// thaifoodtoworld.com/home/researchdetail.php?
research_id=40

6.Cohen, E. & Avieli, N. (2004). Food in tourism attraction and impediment. Annals of Tourism Research 31, (4),
755-778.

7.Haukeland, J., V. & Jacobesen, J.,K. (2009). Gastronomic in the Periphery: Food and cuisine as tourism
attractions on the top of Europe (Research report). s.l: s.n.

8.MGR Online. (2010). VISA said the most powerful thing that attracts tourists is "Thai food". Retrieved
April 11, 2011, from http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000159579

9.Wolf, E. (2002). Culinary Tourism. A Tasty Economic proposition. International Culinary Tourism Force.