กระบวนทัศน์วิธีวิทยาการวิจัยทางกฎหมายอิสลาม

Main Article Content

เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

Abstract

มนุษย์มีการแสวงหาความรู้ความจริงมาแต่โบราณ ด้วยวิธีการที่หลากหลายกระทั่งพัฒนามาสู่การวิจัยที่มีระเบียบวิธี มีเหตุผลเป็นที่เชื่อถือ กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่ชาวมุสลิมใฝ่รู้และนำมาปรับใช้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ไม่มีบท มนุษย์มีการแสวงหาความรู้ความจริงมาแต่โบราณ ด้วยวิธีการที่หลากหลายกระทั่งพัฒนามาสู่การวิจัยที่มีระเบียบวิธี มีเหตุผลเป็นที่เชื่อถือ กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่ชาวมุสลิมใฝ่รู้และนำมาปรับใช้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ไม่มีบท
บัญญัติโดยตรงในอัลกุรอานและในสุนนะฮฺ เป็นหน้าที่ของบรรดานักปราชญ์ที่จะต้องกำหนดกระบวนทัศน์วิธีวิทยาการวิจัยเพื่อการค้นหาข้อบัญญัติทางกฎหมายอิสลามในประเด็นดังกล่าว บทความนี้จึงมุ่งศึกษากระบวนทัศน์ แนวคิด และวิธี
วิทยาการวิจัยของบรรดานักปราชญ์กฎหมายอิสลาม พบว่านักปราชญ์กฎหมายอิสลามในแต่ละยุคสมัยยึดถืออัลกุรอานและสุนนะฮฺเป็นบรรทัดฐาน ประกอบด้วยหลักคิดทางปัญญาหรือหลักวิจารณญาณ โดยนักปราชญ์ส่วนหนึ่งอนุญาตให้ใช้
วิจารณญาณอย่างกว้างขวาง แต่อีกส่วนหนึ่งจำกัดการใช้วิจารณญาณไว้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กระบวนทัศน์แห่งระเบียบวิธีวิทยาการวิเคราะห์วินิจฉัยทางกฎหมายอิสลามจึงสอดคล้องกันในหลักใหญ่และแตกต่างกันในหลักย่อย ความแตก
ต่างกันของระเบียบวิธีวิทยาการวิเคราะห์วินิจฉัยนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อบัญญัติหรือหุกมฺทางกฎหมายอิสลามในมัซฮับต่างๆ แตกต่างกันปัจจุบันเมื่อมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างมัซฮับและมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงมี
กระแสความคิดให้มีการฟื้นฟูวิธีวิทยาการวิเคราะห์วินิจฉัยทางกฎหมายอิสลามเสียใหม่ เพื่อก้าวข้ามความขัดแย้งระหว่างมัซฮับและสามารถตอบสนองความต้องการต่อข้อบัญญัติแห่งกฎหมายอิสลามที่เหมาะสมกับยุคสมัยและไร้พรมแดน

Article Details

How to Cite
แขกพงศ์ เ. (2018). กระบวนทัศน์วิธีวิทยาการวิจัยทางกฎหมายอิสลาม. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(3), 199–211. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/136729
Section
Academic articles