การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง

Main Article Content

บุหลัน พุฒพิทักษ์
สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์
สมคิด นาคขวัญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การดำเนินงานวิชาการ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงสามลำดับแรก คือ ด้านการเน้นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสื่อสารและเป็นนักฟังที่ดี และด้านการมีวิสัยทัศน์ สำหรับด้านการดำเนินงานวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงสามลำดับแรก คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานวิชาการ พบว่าโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
คำสำคัญ : คุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การดำเนินงานวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Article Details

How to Cite
พุฒพิทักษ์ บ., สังข์ขาวสุทธิรักษ์ ส., & นาคขวัญ ส. (2015). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 2(2), 59–71. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/52689
Section
Research Article