การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ณัฐติกา ชูรัตน์

Abstract

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาสาเหตุและหาแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง 5 ราย ญาติ/ผู้ดูแล 5 ราย ผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 12 ราย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการบันทึกภาคสนาม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุการกลับเป็นซ้ำ 1) ผู้ป่วยขาดความรู้เกี่ยวกับโรค ยาจิตเวช และสถานบริการด้านสุขภาพจิต 2) ขาดความตระหนักในการรับประทานยา 3) การใช้สารเสพติด 4) ความเครียดของผู้ป่วย 5) ญาติหวาดกลัว เบื่อหน่าย ท้อแท้ ในการดูแล 6) สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ แนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ คือ 1) ให้ความรู้ที่ครอบคลุม ได้แก่ สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา ยาและผลข้างเคียง การสังเกตอาการกำเริบ สถานพยาบาลที่รักษา และควรให้ข้อมูลเป็นรายกรณี 2) สร้างความตระหนักในการรักษาอย่างต่อเนื่อง 3) ลด ละ เลิกสารเสพติด 4) จัดการอารมณ์ให้เป็น 5) ชุมชนร่วมดูแลอย่างกัลยาณมิตร 6) ไม่สร้างตราบาปให้กัน ดังนั้นในการพัฒนางาน จิตเวชชุมชน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรให้ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนร่วมค้นหาสาเหตุและมีส่วนร่วมในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน คำสำคัญ : สาเหตุและการป้องกันกลับเป็นซ้ำ ผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง เหตุการณ์ความไม่ สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Article Details

How to Cite
ชูรัตน์ ณ. (2016). การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 24–36. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/52695
Section
Research Article