การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง พืชภูมิปัญญา ที่ใช้กระบวนการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

ฟาดีละฮ์ ศรัทธาสุภัคกุล
วัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน
สุธาสินี บุญญาพิทักษ์

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพืชภูมิปัญญา 2) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง พืชภูมิปัญญา ที่ใช้กระบวนการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น ในด้านความรู้ความเข้าใจ เรื่อง พืชภูมิปัญญา มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ คือ ขั้นที่ 1 ศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐานจากาอกสาร ตำรา และการสัมภาษณ์ เพื่อกำหนดเป็นกรอบเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น ขั้นที่ 2 พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นที่ 1 มาพัฒนาเป็นหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น หาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 148 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 87 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสุ่มกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม และขั้นที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านเจาะเกาะ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 71 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสุ่มกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการทดสอบทีชนิดไม่อิสระ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน และแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 3 ชุด ผลการศึกษา พบว่า ประเด็นที่สามารถนำมากำหนดเป็นกรอบเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ คือ การปลูกและการขยายพันธุ์ คุณค่าทางอาหาร และการอนุรักษ์ ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นกับเนื้อหามีความสอดคล้องกัน และหน่วยการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ ผลการหาประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.02/83.27 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลการหาประสิทธิผล พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง พืชภูมิปัญญา หลังใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น สูงกว่าก่อนใช้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05คำสำคัญ : กระบวนการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ พืชภูมิปัญญา หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
ศรัทธาสุภัคกุล ฟ., ธรรมอภิบาล อินทนิน ว., & บุญญาพิทักษ์ ส. (2016). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง พืชภูมิปัญญา ที่ใช้กระบวนการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 37–46. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/52696
Section
Research Article