อิสรภาพของผู้พิพากษาในระบบกฎหมายอิสลามและกฎหมายไทย

Main Article Content

เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

Abstract

อิสรภาพของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นสิ่งที่ผูกโยงอยู่กับการประสาทความยุติธรรมและการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน การคุ้มครองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาจึงควรต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายทุกระบบโดยเฉพาะกฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ บทความนี้จึงมุ่งศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในระบบกฎหมายอิสลามและความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในระบบกฎหมายไทย ความเป็นมา ความหมาย อำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษา และปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้พิพากษามีอิสรภาพในการพิจารณาพิพากษาคดีในระบบกฎหมายทั้งสอง พบว่าในระบบกฎหมายอิสลามมีการบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานอันเป็นธรรมนูญสูงสุดแห่งรัฐอิสลาม ในระบบกฎหมายไทยภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีโบราณราชนิติประเพณีที่สืบต่อกันมาว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์ยุติธรรม และภายใต้ระบอบประชาธิปไตยมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ และมีวิวัฒนาการที่แสดงถึงการคุ้มครองความเป็นอิสระของผู้พิพากษามากขึ้นเป็นลำดับ นับเป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของดะโต๊ะยุติธรรมซึ่งเป็นผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมีความเป็นอิสระในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีครอบครัวและมรดกมุสลิมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอิสลามภายใต้โครงสร้างของระบบกฎหมายไทย  คำสำคัญ : อิสรภาพ ผู้พิพากษา กฎหมายอิสลาม กฎหมายไทย

Article Details

How to Cite
แขกพงศ์ เ. (2016). อิสรภาพของผู้พิพากษาในระบบกฎหมายอิสลามและกฎหมายไทย. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 82–93. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/52700
Section
Academic articles