การศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิคริสเตียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ฤทัยชนนี สิทธิชัย
ธันยากร ตุดเกื้อ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิคริสเตียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 7
ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบและวิธีการเรียน ด้านสื่อการสอน ด้านทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ ด้านผู้เรียน และด้านการวัดผลและประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนในโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิคริสเตียนจำนวน 277 คน เครื่อง
มือที่ใช้คือแบบสอบถามเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ: รูปแบบ ปัญหา และความต้องการของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิคริสเตียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีค่าความเชื่อมั่น 0.828 จากการวิเคราะห์ค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของคอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่าสภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก (x= 4.08) โดยด้านหลักสูตร และด้านเนื้อหาพบค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงที่สุด (x=4.10) ด้านผู้เรียนพบค่าเฉลี่ยโดยรวมต่ำที่สุด (x= 3.75) เมื่อพิจารณาตาม
คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักเรียนที่เพศต่างกัน , ศึกษาในระดับชั้นต่างกัน มีความต้องการในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01 ตามลำดับ นอกจากนั้นยัง พบว่า นักเรียนที่อยู่อาศัยใน
จังหวัดต่างกันมีการใช้ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ด้านผู้เรียนและด้านการวัดและประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนพบว่าตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนการ
สอนคือด้านรูปแบบและวิธีการเรียน ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ ผู้เรียนและการวัดผลและประเมินผลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านหลักสูตร ด้านเนื้อหา ด้านสื่อการสอน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
สิทธิชัย ฤ., & ตุดเกื้อ ธ. (2017). การศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิคริสเตียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(2), 26–37. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/88953
Section
Research Article