รูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Main Article Content

ทนากร ศรีก๊อ
ชุติมา มุสิกานนท์
เด่น ชะเนติยัง

Abstract

การวิจัยแบบผสมเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบแนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการเดลฟาย โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 21 คน โดยใช้เทคนิคการบอกต่อ ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 8 คน มาจัดสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความคิดเห็น รูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาเอก ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่น วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .974 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยแบบผสมเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบแนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการเดลฟาย โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 21 คน โดยใช้เทคนิคการบอกต่อ ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 8 คน มาจัดสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความคิดเห็น รูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาเอก ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่น วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .974 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่  1. อาจารย์ 2. นิสิตนักศึกษา 3. ผู้บริหารหลักสูตร 4. ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ปัจจัยด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ การบริหารจัดการ ปัจจัยด้านผลผลิต ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ คุณภาพวิทยานิพนธ์และการตีพิมพ์เผยแพร่ และคุณภาพของดุษฎีบัณฑิต ปัจจัยบริบทของหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2. โครงสร้างหลักสูตร 3. รายวิชาหลักสูตร ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า รูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

Article Details

How to Cite
ศรีก๊อ ท., มุสิกานนท์ ช., & ชะเนติยัง เ. (2018). รูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(1), 36–46. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/110096
Section
Research Article

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักเทคนิคการบริหารและการวางแผน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

2.กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

3.จุฑามาศ กาญจนธรรม. (2558). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
9(พิเศษ), 109-116.

4.ชฎาภรณ์ ไชยยา. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
แม่ฮ่องสอน เขต 1. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

5.เด่น ชะเนติยัง. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 1. วารสารวิชาการคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล,
10(3), 550-558.

6.ทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). รายงานของสำนักกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย

7.นิษฐวดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับธรรมาภิบาลของผู้บริหารในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารหรือนิตยสารนครพนม, 7(2), 25-33

8.ปรีชา วิหคโต. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดกาญจนบุรี.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 70-63

9.ปรีชา วิหคโต. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 6. วารสารวิชาการ
คุณภาพชีวิตกับกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล, 10(3), 339-347.

10.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). รายงานประจำปี สกอ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ:
สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

11.สำนักงานข่าวอิศรา. (2555). ศึกชิง “นักศึกษา”ม.รัฐ-เอกชน นับวันยิ่งเดือด!. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2559,
จาก https://www.isranews.org/main-thairefom/15947--qq-.html

12.อัญชสา ณิชากรวงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา โดยใช้หลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สกลนคร เขต 1. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

13.อุทัย ดุลยเกษม. (2557). แนวทางพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(1), 93-97.